2200330 พระไตรปิฎกกับวิถีชีวิต
อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (รศ. ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง)
ความสำคัญของพระไตรปิฎกที่มีต่อชีวิตและสังคม โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นมรดกธรรมอันเป็นรากฐานแห่งสันติสุขของชีวิตและสังคมทุกกาลสมัย วัฒนธรรมพระไตรปิฎกในสังคมไทย พระไตรปิฎกกับการปฏิบัติในชีวิตและสังคมปัจจุบัน
0298112 หลักการทั่วไปในการผลิตอาหารฮาลาล
ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ และ อ.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์
หลักพื้นฐานของอาหารฮาลาลกับวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา และเศรษฐกิจ หลักการทั่วไปว่าด้วยฮาลาลและหะรอมตามกฏอิสลาม ความสำคัญของมาตรฐาน การกำหนดมาตรฐาน การตรวจรับรองอาหาร ฮาลาลในระดับชาติและนานาชาติ วัตถุดิบและสารเคมีในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล หลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์ฮาลาล มาตรวิทยาและวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล การวิเคราะห์อันตรายด้านฮะรอม การควบคุมจุดวิกฤติ การมาตรฐานฮาลาล ตามมาตรฐานฮาลคิว การจัดการห่วงโซ่อุปทานฮาลาล และการประยุกต์ใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
โรคติดเชื้อที่สำคัญในสัตว์เลี้ยงและการป้องกัน
รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล และ อ. สพ. ญ. ดร.จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์
เนื้อหาของส่วนนี้เกี่ยวกับโรคสำคัญของสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น ประกอบด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจ พยาธิในระบบทางเดินอาหาร โรคพยาธิในเม็ดเลือด โรคพิษสัตว์เลี้ยงบ้า โรคไข้หัดสัตว์เลี้ยง และโรคลำไส้อักเสบ ถือเป็นโรคระบาดที่สำคัญและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์เลี้ยงเสียชีวิตในประเทศไทย จากนั้นจะเป็นข้อแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกท่านถึงโปรแกรมการป้องกันเบื้องต้นที่ต้องปฏิบัติได้แก่ การถ่ายพยาธิ การกำจัดเห็บหมัด การใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์อย่างปลอดภัย และการทำวัคซีนอย่างถูกต้อง
ภาษาไพธอนเบื้องต้น
อ.โชติรส สุรพลชัย
ชนิดของข้อมูล และการทำงานแบบลำดับ การทำงานแบบทางเลือก (if-then-else) และการทำงานแบบวนซ้ำ (while, for)
การแก้ปัญหาพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงด้วยความเข้าใจ
อ. สพ. ญ. ดร.จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์
เนื้อหาของส่วนนี้จะเป็นการสร้างความเข้าใจในพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงให้แก่เจ้าของ ตั้งแต่สัตว์เลี้ยงวัยเด็กจนถึงวัยชรา การเข้าใจพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยง และเจ้าของอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ลดปัญหาการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง เนื้อหาจะเริ่มต้นจาก ช่วงอายุต่างๆ ที่สำคัญกับการพัฒนาทางพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง สิ่งที่เจ้าของจะทำได้ในแต่ละช่วงอายุที่จะช่วยลดและป้องกันปัญหาพฤติกรรมในสัตว์เลี้ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากนั้นจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของสัตว์เลี้ยงซึ่งจะทำให้เจ้าของเข้าใจถึงวิธีการฝึกสัตว์เลี้ยงและวิธีการปรับพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงที่ถูกต้อง ในส่วนสุดท้ายจะเป็นรายละเอียดปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง พร้อมกับวิธีการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสมกับแต่ละปัญหา
Appreciation card สวย ง่าย ทันใจ ด้วยมือถือแค่เครื่องเดียว
อ.วรรษยุต คงจันทร์
หลักการออกแบบเบื้องต้น: การจัดวาง การใช้ประโยชน์จากช่องว่าง ขนาด สัดส่วน การใช้สี แสง และพื้นหลัง แนะนำโปรแกรมที่จำเป็นในโทรศัพท์มือถือ แนะนำแหล่งดาวน์โหลดภาพและ font ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ วิธีการใช้งานโปรแกรมอย่างง่าย: การดาวน์โหลด นำเข้าภาพ การตัดภาพ การวางตัวอักษร การจัดวางตำแหน่ง ย่อ ขยาย การเปลี่ยนสี แสง เงา และการใช้ filter เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
CUVIP Workshop การใช้ Application เพื่อการนำเสนองาน
รศ. ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา
การใช้ Application เพื่อการนำเสนอผลงาน เป็นการเน้นการเรียนรู้วิธีการสร้างรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ด้วยแอพพลิเคชั่น “CANVA” เสริมสร้างทักษะการนำเสนอให้มีความน่าสนใจ แบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักสร้างสรรค์อย่างเต็มตัว
การใช้ยาในสัตว์เลี้ยง
สพ. ญ. ดร.วุฒิพร ลิ้มประสูตร
เนื้อหาของส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของยาและการใช้ยาในสัตว์เลี้ยง เริ่มจากการแนะนำใหรู้ว่ายาสัตว์กับยาคนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รูปแบบของยาที่ใช้ในสัตว์มีอะไรบ้าง เช่น ยากินซึ่งก็มีทั้งชนิดน้ำ ยากินชนิดเม็ด (tablet, capsule, chewable tablet) ยากินชนิดกึ่งแข็ง (paste) ยาหยดหลัง (spot on) ยาราดหลัง ยาหยอด/ป้ายตา ยาหยอดหู เป็นต้น รวมถึงวิธีการบริหารยาแต่ละรูปแบบในสัตว์เลี้ยงว่าทำอย่างไร เช่น การป้อนยาเม็ด การใช้ยาหยดหลัง รวมถึงข้อควรทราบในการบริหารยา เช่น การให้ยากินก่อนอาหาร/ยาหลังอาหารหรือยาที่กินพร้อมอาหาร มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ทำไมต้องให้กินยาในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ยากินก่อนอาหารควรให้กินก่อนอาหารนานเท่าไร ยาหลังอาหารควรให้กินหลังอาหารนานเท่าไร การใช้ยาหยดหลังควรงดอาบน้ำก่อน/หลังหยดยาหรือไม่ ถ้าต้องงดจะงดกี่วัน เป็นต้น
การเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ
รศ. น. สพ. ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล
เนื้อหารายวิชาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านความเข้าใจอุปนิสัยและพฤติกรรม การทำความสะอาด การดูแลและป้องกันโรค กฎหมายเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ นวัตกรรมด้านการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการดูแลระหว่างที่เจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยรายละเอียดด้านวิชาการและทักษะ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการเลี้ยงสัตว์และการป้องกันโรคทั้งตัวสัตว์เอง และจากสัตว์สู่ผู้เลี้ยงจึงมีความจำเป็นต่อนิสิตที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอาจต่อยอดทางธุรกิจได้ในอนาคต ผู้สอนจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดโครงการ “เลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ” เพื่อให้นิสิตที่ลงทะเบียนในรายวิชาดังกล่าวข้างต้น ได้มีการเรียนรู้การดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพแข็งแรง และความต้องการพลังงาน (Energy requirements) ที่แตกต่างกัน ของสัตว์เลี้ยง รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพลังงานของสัตว์มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ อายุ สภาพทางสรีรวิทยา เช่น ลูกสัตว์ที่กำลังเจริญเติบโต แม่สัตว์ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือแม่สัตว์ที่กำลังให้นมลูก เป็นต้น การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ขนาดตัวของสัตว์ และการทำหมัน การให้อาหารในแต่ละวันของสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิด รวมทั้งการสังเกตลักษณะภายนอก การยืน เดิน นั่ง จนถึงการลูบตัวลงมาจนถึงขาและเท้า ตรวจดูตา หู และเล็บ การดูแลช่องปาก สุขภาพเหงือกและฟัน การแปรงฟัน ตัดเล็บ ทำความสะอาดหู อาบน้ำ และการแปรงขน เพื่อให้สัตว์เลี้ยงแสนรักมีสุขภาพที่ดีและความสุขที่ยืนยาว
ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน
คุณกมเลศ ฤทธิ์เดชา
วิชา Everyday Japanese ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน รายวิชานี้จะนำเสนอให้ผู้เรียนได้รู้จักการออกเสียงภาษาอังกฤษ การออกเสียงพยัญชนะ สระ และเสียงลงท้าย การเน้นเสียง การทำความรู้จักคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น การเรียนรู้บทสนทนาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สื่อออนไลน์ สำหรับเรียนรู้และฝึกฝนการออกเสียง รวมถึงการฝึกภาคปฏิบัติ ฟังบทสนทนา การออกเสียงและออกเสียงตามผู้สอนและคลิปเสียง