ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ (จุฬาฯ)
ผศ.ชูพงศ์ ปัญจมะวัต ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และ วิชญ์วิสิฐ ธิราชรัมย์
หลักสูตร Chula MOOC
7 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
7 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
3 บทเรียน
3 VDO
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
CHULA MOOC
นิสิตและบุคลากร จุฬาฯ
วิชา ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับปัญหาน้ำบ่าไหลหลากในช่วงฤดูฝน กับปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง องค์ประกอบของระบบนิเวศต้นน้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และป่าไม้ ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศ การหมุนรอบตัวเองของโลก กับการเคลื่อนที่ของลม ชนิดของเมฆ และเมฆฝน การให้บริการของน้ำท่าที่ไหลในลำธารของระบบนิเวศป่าต้นน้ำ การกัดชะพังทลายของดิน และงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำ
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับปัญหาน้ำป่าไหลหลากในช่วงฤดูฝน กับปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และป่าไม้ได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายปัจจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศ การหมุนรอบตัวเองของโลก กับการเคลื่อนที่ของลมได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายชนิดของเมฆต่าง ๆ ได้
5. เพื่อให้ผู้เรียนทราบและสามารถอธิบายการให้บริการของน้ำท่าที่ไหลในลำธารของระบบนิเทศป่าต้นน้ำได้
6. เพื่อให้ผู้เรียนทราบและสามารถอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกัดชะพังทลายของดินได้
7. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายและยกตัวอย่างงานวิจัยท้องถิ่น ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาของระบบนิเวศต้นน้ำได้
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
หัวข้อวิชา ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ
บทที่ 1 รู้จักระบบนิเวศต้นน้ำ
1.1 ความสำคัญของพื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่ลุ่มน้ำ
1.2 ระบบนิเวศคืออะไร
1.3 ดิน น้ำ ป่าไม้
1.4 นิเวศบริการ
1.5 อากาศบ้านเรา
1.6 เมฆและฝน บ
ทที่ 2 ปัญหาพื้นที่ต้นน้ำ
2.1 เมื่อป่าเปลี่ยนไป
2.2 ภัยพิบัติที่เกิดจากระบบนิเวศป่าต้นน้ำพังทลาย (การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ)
2.3 ภัยพิบัติที่เกิดจากระบบนิเวศป่าต้นน้ำพังทลาย (ผลกระทบต่อเปลือกโลก)
บทที่ 3 แนวทางการแก้ปัญหาพื้นที่ป่าต้นน้ำ
3.1 นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อกับพื้นที่ป่าต้นน้ำ
3.2 การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำ
3.3 การสร้างงานวิจัยท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ป่าต้นน้ำ
ศูนย์การศึกษาทั่วไป
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ปรึกษาโครงการเอสซีจีรักษ์น้ำเพื่ออนาคต
ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
Assistant CSR Project Manager
บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด