Chula MOOC Flexi คืออะไร

คือ กลุ่มรายวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยเน้นความยืดหยุ่นในการเรียนของผู้เรียนเพื่อให้เข้ากับตารางการเรียนรู้ที่จัดการได้ตามความเหมาะสมของตนเอง

จุดเด่นของกลุ่มรายวิชานี้ คือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับดิจิทัล มีความยืดหยุ่นในการเรียน เรียนได้ในระยะยาว (มากกว่า 3 เดือน) ผู้เรียนสามารถออกแบบการเรียนได้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนสามารถเลือกรอบการสอบวัดผลการศึกษาได้ด้วยตัวเอง สอบได้หลายครั้ง ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนผ่านสำนักงานการทะเบียนของจุฬาฯ ก่อนเริ่มเรียน พร้อมรับหน่วยกิตรายวิชาศึกษาทั่วไป จุฬาฯ จำนวน 3 หน่วยกิต เมื่อปฏิบัติครบตามข้อกำหนด/เงื่อนไขรายวิชา

วัตถุประสงค์โครงการ
  • หลักสูตร “คนไทยเข้าใจดิจิทัล” และ “หลักสูตรทักษะดิจิทัลพื้นฐานเพื่อการทำงาน” 28 รายวิชา ในระบบคลังความรู้ดิจิทัลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างครบวงจรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านดิจิทัลให้มีความคุ้นเคยผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับทุกคน
  • ส่งเสริมการเรียนในรูปแบบเรียนล่วงหน้าสะสมเครดิต เพื่อเทียบโอนหน่วยกิตเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป ของจุฬาฯ จำนวน 3 หน่วยกิต
  • เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และทักษะจำเป็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงการจัดทำแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชิวิต (Lifelong Learning) ให้กลุ่มเยาวชนและกำลังแรงงานได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล
  • เป็นแหล่งเรียนรู้และผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการทำงานด้านดิจิทัลในระดับขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นกลางจากการวัดประเมินผล เพื่อรับรองความสามารถ ตลอดจนเพื่อผลักดันให้เกิดการปปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษาของประเทศ
รูปแบบการเรียน
  • เรียนออนไลน์เพื่อสะสมหน่วยกิต ผู้เรียนสามารถนำผลการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม และสอบวัดความรู้ ตามเงื่อนไขที่รายวิชากำหนด จึงจะเทียบหน่วยกิตได้ โดยผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนผ่านสำนักงานการทะเบียนของจุฬาฯ https://www.reg.chula.ac.th ลงทะเบียนเรียนก่อนเรียน (นิสิตจุฬาฯ) หรือหลังเรียนสำเร็จแล้วก็ได้
  • เรียนออนไลน์เพื่อเรียนรู้ เพิ่มความสามารถ และ/หรือสมรรถนะ โดยไม่จำกัด อายุ คุณวุฒิของผู้เรียน ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนและสะสมหน่วยกิตได้ตลอดชีวิต โดยไม่มีเงื่อนไขของระยะเวลาในการสะสมและระยะเวลาในการศึกษา
หลักการเทียบโอนผลการเรียน
  • ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของรายวิชา และแสดงผลความรู้ความสามารถที่ตรงกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของรายวิชาเพื่อเก็บสะสมเครดิตไว้ในระบบคลังความรู้ดิจิตอลของ GenEd
  • การขอเทียบโอนความรู้ เพื่อนับเป็นหน่วยกิตเทียบเท่ากับรายวิชาตามเกณฑ์การเรียนของ GenEd และประกาศ/ข้อบังคับว่าด้วยการเทียบโอนผลการเรียน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่องแนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา
หลักการประเมินผลการเรียน
  • ประเมินความรู้ทางวิชาการ
  • การประเมินการทำงานหรือกิจกรรมในชั่นเรียน
  • การประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย
  • อื่นๆ ตามกี่ละรายวิชา
การสมัครเรียน
  • เลือกเรียนด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทางดิจิทัลของ Chula Neuron
  • ค้นหาและเลือกคอร์สออนไลน์ด้านดิจิทัลที่สนใจเรียน ซึ่งมีให้เลือกเรียนมากกว่า 28 คอร์สเรียน จากรายวิชากลุ่ม Chula MOOC Flexi คอร์สเรียนออนไลน์ Chula Neuron สื่อการสอนออนไลน์จากรายวิชาศึกษาทั่วไป จุฬาฯ คอร์สเรียนออนไลน์จาก Chula MOOC และคอร์สออนไลน์จากกิจกรรม CUVIP
  • ลงทะเบียนในระบบคลังความรู้ดิจิทัล และเปิดบัญชีธนาคารเครดิต (Credit Bank)
  • เข้าสู่หน้ารายวิชา เพื่อยืนยันการลงทะเบียนเรียน
  • เริ่มเรียนผ่านระบบ myCourseVille ซึ่งมี Learning Path ของรายวิชาแสดงความก้าวหน้าในเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  • ขอรับใบรับรอง หรือสะสมเครดิตในรายวิชาศึกษาทั่วไป ผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยรายวิชาในโครงการฯ มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest)
  • เก็บสะสมเครดิตจากการเรียนรู้ในระบบธนาคารเครดิตรายบุคคล (Credit Bank/Credit Transaction) และ Portfolio
  • ขั้นตอนที่ 8-11 สำหรับผู้เรียนที่ต้องการเทียบโอนหน่วยกิตเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่ม Chula MOIOC Flexi จำนวน 3 หน่วนกิต
  • ตรวจสอบจำนวนเครดิตที่ผู้เรียนสะสมตามข้อกำหนด/เงื่อนไขรายวิชาศึกษาทั่วไป จุฬาฯ กลุ่ม Chula MOIOC Flexi เพื่อประมวลผลการสะสมเครดิต
  • ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนากิจกรรม CUVIP (online/onsite) และเข้าร่วมกิจกรรมให้มีจำนวนชั่วโมงรวมกับเนื้อหาออนไลน์ในรายวิชานั้นไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง (ตามข้อกำหนด/เงื่อนไขรายวิชา)
  • แจ้งความประสงค์ขอเข้ารับการสอบวัดผลการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกรอบการสอบวัดผลการศึกษาได้สอบวัดผลการศึกษาด้วยตัวเอง สอบได้หลายครั้ง
  • การเทียบโอนหน่วยกิตเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป จุฬาฯ จำนวน 3 หน่วยกิต ผู้เรียนสามารถเทียบโอนได้ต่อเมื่อผู้เรียน เรียนคอร์สเรียนออนไลน์ เข้าร่วมกิจกรรม และสอบวัดความรู้ ครบตามข้อกำหนด/เงื่อนไขรายวิชา โดยผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนผ่านสำนักงานการทะเบียนของจุฬาฯ https://www.reg.chula.ac.th ลงทะเบียนเรียนก่อนเรียนหรือหลังเรียนสำเร็จแล้วก็ได้
CHULA MOOC Flexi

เรียนสะสมหน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตรนี้ เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตจุฬาฯ ที่ลงทะเบียนผ่าน Reg Chula ในรูปแบบ Blended Learning เรียนผสมผสานทั้งในห้องเรียนออนไลน์ กิจกรรม Wrokshop ตามที่หลักสูตรและรายวิชากำหนด *สำหรับนักเรียนสามารถเรียนล่วงหน้า แล้วเข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ ก่อนจึงจะสามารถลงทะเบียนผ่าน Reg Chula และเทียบโอนหน่วยกิตได้

DIG DATA AI

รศ.ดร.อติวงศ์ สุชาโต

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

     คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล พื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Spreadsheet พื้นฐานการโค้ดผ่านการทำโปรแกรมแบบบล็อก หลักสูตรวิทยาการคำนวณในประเทศไทย การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันด้วยแนวคิดเชิงคำนวณ ความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับทุกคน พื้นฐานและความเข้าใจกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

WEB DEV FUND

อ.ดร.มัชฌิกา อ่องแตง

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

     คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล พื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับทุกคน การสร้างเว็บด้วย HTML และ CSS การเขียนโปรแกรมภาษา JavaScript การจัดการข้อมูลด้วยภาษา SQL การสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว โครงงานการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ความปลอดภัยของระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันด้วยแนวคิดเชิงคำนวณ

How to Develop Prototypes of Internet of Things

ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

     คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล พื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง การสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันด้วยแนวคิดเชิงคำนวณ การเขียนโปรแกรมภาษา Python โครงงานพัฒนาต้นแบบอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง

Data Analysis Using the Python Language

ผศ.ดร.สุกรี สินธุภิญโญ

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

    คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน

Data Analyzing by Means of Machine Learning Techniques

ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

     คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และการเรียนรู้ของเครื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน การเรียนรู้ของเครื่องแบบมีผู้สอน การเรียนรู้ของเครื่องแบบไม่ต้องมีผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา

Computers Vision and Its Industrial Application

ผศ. ดร.พรรณราย ศิริเจริญ

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

    คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง การพัฒนาโปรแกรมด้วยความสามารถของวิสัยทัศน์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน

Management of Projects for the Development of modern Applications

ศ.ดร.วิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

     คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล การวิเคราะห์ความต้องการเพื่อสร้างข้อกำหนดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว การบริหารโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ พื้นฐานและความเข้าใจกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Personal Data protection for technology service providers

รศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

     คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัล พื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับทุกคน หลักปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ความปลอดภัยของระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พื้นฐานและความเข้าใจกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล                                                                                                  

คอร์ส Chula MOOC Flexi
สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
  • พัฒนาความรู้และศักยภาพด้านดิจิทัล สามารถในการทำงานด้านดิจิทัล (digital manpower) ในระดับขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นกลางเพื่อให้มีทักษะที่นำไปต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้
  • ประกาศนียบัตร
  • เทียบโอนหน่วยกิตเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป ของจุฬาฯ จำนวน 3 หน่วยกิต
ติดต่อเรา
  • CU Neuron ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชั้น 6 อาคารวิทยพัฒนา ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • (+66) 0-2218-3826
  • cuneuron@chula.ac.th
  • @gened.chula