นาฎยกรรมสยาม: โขน (จุฬาฯ)
รศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
หลักสูตร Chula MOOC
7 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
7 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
12 บทเรียน
12 VDO
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมด ให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
CHULA MOOC
นิสิตและบุคลากร จุฬาฯ
รายวิชา นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน จะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภทของโขน ตัวละคร องค์ประกอบ ประเภทหัวโขน ท่าทางในการแสดง และขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขนในกลุ่มนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจประวัติความเป็นมาของ โขน ได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขนและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
เนื้อหาในรายวิชา นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน ประกอบด้วย
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของโขน
บทที่ 2 ประเภทของโขน
บทที่ 3 ประเภทของตัวละครในโขน
บทที่ 4 การคัดเลือกผู้แสดงโขน
บทที่ 5 องค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงโขน
บทที่ 6 หัวโขน
บทที่ 7 เครื่องแต่งกายในการแสดงโขน
บทที่ 8 ดนตรีประกอบในการแสดงโขน
บทที่ 9 ภาษาท่าทางในการแสดงโขน ตัวพระ ตัวนาง
บทที่ 10 ภาษาท่าทางในการแสดงโขน ตัวยักษ์ ตัวลิง
บทที่ 11 ชีวิตคนโขน
บทที่ 12 การขึ้นทะเบียนโขนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
อาจารย์ประจำภาควิชานาฏยศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย