Coding for Beginners (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.จารุโลจน์ จงสถิตย์วัฒนา และ ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี
หลักสูตร Chula MOOC
14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
4 บทเรียน
18 VDO
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมด ให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
Chula Mooc
นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ
Thinking Like a Programmer เป็นชุดวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฝึกและพัฒนาแนวความคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชุดวิชานี้ผู้เรียนจะฝึกการลำดับขั้นตอนรวมถึงการออกแบผังงานในการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมองและทำความเข้าใจกับปัญหาโดยการย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการโดยใช้การเขียนโปรแกรมภาษา Python เป็นเครื่องมือสื่อกลางการเรียนรู้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถฝึกทักษะดังกล่าวผ่านทางตัวอย่างและแบบฝึกหัดในบทเรียน รวมถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานหรือในชีวิตประจำวันได้
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจัดการกับข้อมูลที่มีจํานวนมากที่มีรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบซ้ำ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถลําดับแนวคิดและกระบวนการแก้ไขปัญหาผ่านการแยกส่วนของปัญหาออกเป็นย่อย ๆ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานได้
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
เนื้อหาในรายวิชา Coding for Beginners ประกอบด้วย
บทที่ 1 ลิสต์
บทที่ 2 การทำงานแบบวนซ้ำของชุดข้อมูล
บทที่ 3 ฟังก์ชัน
บทที่ 4 การแก้ไขปัญหาและการแยกส่วนของปัญหาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย