ความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ (จุฬาฯ)

ทีมคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตร Chula MOOC

  • มีสุขภาวะที่ดี
  • Course Code: CHULAMOOC5027.CU01
    4.8
  • Credit :

FREE
Empty Space 1824/5000
  • Register

    14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

  • Study Time

    14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

  • Content

    3 บทเรียน

  • Video

    13 วีดีโอ

  • Timing

    ไม่กำหนด

  • Document

    ไม่มี

  • Graduation criteria

    ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป

  • Diploma

    Chula Mooc

  • Target Audience

    นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ

Course Introduction
'
About the Course

วิชาความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในแง่ของประชาชนทั่วไปที่ควรรู้และ ตระหนัก บทบาทความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดอุบัติการณ์และผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ให้ เหลือน้อยที่สุดรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อการคืนสภาพให้มากที่สุดจากเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์และความปลอดภัยของผู้ป่วย ความเข้าใจระบบและผลของความซับซ้อน ในการดูแลผู้ป่วย การเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของทีม การเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อการป้องกันอันตราย ความเข้าใจและการจัดการกับความเสี่ยงทางคลินิก การใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อปรับปรุงการดูแล การมี ส่วนร่วมของผู้ป่วยและผู้ดูแลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและหัตถการที่รุกล้ำ และความปลอดภัยในการใช้ยา

Objectives and lessons learned

    1.อธิบายบทบาทของความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดอุบัติการณ์และผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงวิธีการแก้ไข

    2.อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์และความปลอดภัยของผู้ป่วย การคิดอย่างเป็นระบบ หลักการปรับปรุงคุณภาพ

    3.อธิบายความสำคัญของการปฏิบัติงานเป็นทีม เทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม

    4.อธิบายธรรมชาติของความผิดพลาดและวิธีการนำหลักการจัดการความเสี่ยงมาใช้

    5.อธิบายวิธีการที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถปฏิบัติงานเป็นพันธมิตรในการดูแลผู้ป่วย

    6.อธิบายผลกระทบจากการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่ไม่มีประสิทธิภาพ เหตุการณ์ที่ไม่พึง ประสงค์ที่เกิดขึ้นในการทำหัตถการที่รุกล้ำ

    7.อธิบายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา

Measurement and Evaluation Criteria

    มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

Note

    1.ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

    2.ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

Course Content

    หัวข้อวิชา ความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ

    บทที่ 1 ความปลอดภัยทางกายภาพบำบัดเพื่อประชาชน

    1.1 จัด Office พิชิต Syndrome

    1.2 เมื่อไหร่ต้องร้อน ตอนไหนต้องเย็น

    1.3 จำเป็นแค่ไหน ที่ต้องใส่เครื่องช่วยพยุง

    บทที่ 2 ความปลอดภัยด้านโภชนาการ

    2.1 ฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ อ่านอย่างไร?

    2.2 ความหมายของพลังงาน ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ บนฉลากกับการใช้ประโยชน์การเลือกอาหาร

    2.3 โรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการกับข้อควรรู้บนฉลาก

    2.4 การเลือกใช้ชนิดของน้ำมันให้เหมาะสมกับการปรุงอาหาร

    2.5 การเลือกชนิดของน้ำปลาให้เหมาะกับโรค

    2.6 การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความหวานแทนน้ำตา

    บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา

    3.1 ความสำคัญของฉลากยา

    3.2 การเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง

    3.3 วิธีการใช้ยาและข้อผิดพลาดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยา

    3.4 วิธีปฏิบัติหากลืมรับประทานยา

Instructor
    • ทีมคณาจารย์

    คณะแพทยศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ทีมคณาจารย์

    คณะสหเวชศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ทีมคณาจารย์

    คณะเภสัชศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ทีมคณาจารย์

    คณะทันตแพทยศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย