การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC (จุฬาฯ)

รศ. ภญ. ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง ศ. ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล ผศ. ภญ. ดร.ทักษิณา ชวนอาษา ผศ. ภญ. ดร.วิชชุดา ธนกิจเจริญพัฒน์ และ อ. ภญ.จีรภัทร์ ดวงฉวี

หลักสูตร Chula MOOC

  • มีสุขภาวะที่ดี
  • Course Code: CHULAMOOC5006.CU01
    4.8
  • Credit :

FREE
Empty Space 68/5000
  • Register

    8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

  • Study Time

    8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

  • Content

    9 บทเรียน

  • Video

    9 วีดีโอ

  • Document

    ไม่มี

  • Graduation criteria

    ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมด ให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป

  • Diploma

    Chula Mooc

  • Target Audience

    นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ

Course Introduction
About the Course

วิชา การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC จะกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร เทคนิคการตรวจอัตลักษณ์ของสมุนไพรในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร หลักการและเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี เทคนิคการแยกสารด้วย TLC ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค TLC/HPTLC การอ่านและแปลผลการทดสอบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประยุกต์ใช้การตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร หลักการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (method validation) สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC การค้นคว้าและการเลือกใช้แหล่งอ้างอิงในการวิเคราะห์สมุนไพร และหลักการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC โดยปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณที่ดีไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งนี้หากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้มีการเลือกนำสมุนไพรมาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการชำระล้างสารพิษออกจากร่างกาย ลดอาการอักเสบของผิวหนังลดรอยเหี่ยวย่น ทำให้ผิวขาวใส ดังนั้นหากมีการเรียนรู้ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้องและเหมาะสมเผยแพร่แก่ประชาชนที่สนใจเพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Objectives and lessons learned

    1. สามารถอธิบายความสำคัญของการตรวจคุณภาพสมุนไพรที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้

    2. สามารถระบุวิธีพื้นฐานการตรวจเอกลักษณ์สมุนไพรและอธิบายหลักการและการใช้วิธีทางโครมาโทกราฟีในงานวิเคราะห์

    3. สามารถอธิบายเทคนิค ขั้นตอนวิธีการ อ่านและแปลผลวิเคราะห์จากสถานการณ์จำลองได้ถูกต้อง การใช้เครื่องมือในการตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC ที่ต่างจากวิธีอื่น

    4. สามารถอธิบายการนำเทคนิค HPTLC ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดเพื่อการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ในงานตรวจคุณภาพสมุนไพร

Measurement and Evaluation Criteria

    มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

Note

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

    2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

Course Content

    บทที่ 1 มาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร

    บทที่ 2 เทคนิคการตรวจอัตลักษณ์ของสมุนไพร ในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร

    บทที่ 3 หลักการและเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี

    บทที่ 4 เทคนิคการแยกสารด้วยเทคนิค TLC

    บทที่ 5 ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค TLC/HPTLC

    บทที่ 6 การอ่านและแปลผลการทดสอบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประยุกต์ใช้การตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร

    บทที่ 7 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (method validation) สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC

    บทที่ 8 แหล่งข้อมูลอ้างอิงและการอ่านโมโนกราฟสมุนไพร

    บทที่ 9 หลักการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC

Instructor
    • รศ.ภญ.ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง

    ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
    คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ศ.ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล

    ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
    คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ.ภญ.ดร.ทักษิณา ชวนอาษา

    ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
    คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ.ภญ.ดร.วิชชุดา ธนกิจเจริญพัฒน์

    ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
    คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ.ภญ.จีรภัทร์ ดวงฉวี

    ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี
    คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย