Requirements Analysis for Specification in Software Development
ศ.ดร.วิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ
หลักสูตร Chula Mooc Flexi
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
6 บทเรียน
20 วิดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
certificate of completion
นิสิตจุฬา ฯ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีและดิจิทัล
รายวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ / ความต้องการ / ข้อกำหนด / โครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นวัฏจักรการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบย่อ: กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์และแนวโน้ม, กระบวนการพัฒนาแบบดั้งเดิมและแบบเอไจล, สกัม; ความต้องการซอฟต์แวร์: ปัญหาและความสำคัญของความต้องการซอฟต์แวร์ ลักษณะความต้องการเขิงหน้าที่และไม่เชิงหน้าที่, เทคนิคการค้นหาและรวบรวมความต้องการ; การวิเคราะห์ความต้องการซอฟต์แวร์: แนวคิดและหลักการวิเคราะห์, กระบวนการวิเคราะห์, ข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์, มาตรฐานการเขียนข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์; กรณีศีกษา
1.เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจวัฏจักรและกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
2.เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความต้องการซอฟต์แวร์ในกระบวนการพัฒนา
3.เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเทคนิคการค้นหาและรวบรวมความต้องการซอฟต์แวร์
4.เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการและกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการซอฟต์แวร์
5.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
เนื้อหาในรายวิชา การวิเคราะห์ความต้องการเพื่อสร้างข้อกำหนดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Requirements Analysis for Specification in Software Development) ประกอบด้วย
บทที่ 1 วัฏจักรการพัฒนาซอฟต์แวร์
บทที่ 2 ความต้องการซอฟต์แวร์
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความต้องการซอฟต์แวร์
บทที่ 4 การสาธิตการรวบรวมความต้องการซอฟต์แวร์
บทที่ 5 การสาธิตการวิเคราะห์ความต้องการซอฟต์แวร์
บทที่ 6 การสาธิตการเขียนข้อความกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย