(IoT)

ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์

หลักสูตร Chula Mooc Flexi

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
  • รหัสวิชา : NEURON0112
    5.0
  • หน่วยกิต :
FREE
ที่ว่าง 1709/10000
  • ลงทะเบียน

    วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

  • เวลาเรียน

    วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

  • เนื้อหา

    4 บทเรียน

  • วิดีโอ

    7 วิดีโอ

  • ระยะเวลา

    ไม่กำหนด

  • เอกสาร

    ไม่มี

  • เกณฑ์เรียนจบ

    ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป

  • ประกาศนียบัตร

    certificate of completion

  • กลุ่มเป้าหมาย

    นิสิตจุฬา ฯ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีและดิจิทัล

แนะนำรายวิชา
เกี่ยวกับรายวิชา

      แนะนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (IoT) ความหมาย ความเป็นมา และการประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีได้แก่ ระบบการบริหารจัดการข้อมูล ระบบอุปกรณ์และการตรวจวัดค่า (Sensors) ระบบการส่งข้อมูล ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการวิเคราะห์ และระบบนำเสนอข้อมูล กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลในทางธุรกิจและอุตสาหกรรม 

วัตถุประสงค์และสิ่งที่ได้จากเรียน

    1) เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายแนวคิดและองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งได้

    2) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์และต่อยอดการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งไปใช้ในทางธุรกิจและอุตสาหกรรมได้

    3) เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงประโยชน์ ข้อควรระวังของการใช้งานและการวางระบบเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งได้

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

         การวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1.ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

    2.ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Post test ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น 

เนื้อหาหลักสูตร

    เนื้อหาในรายวิชา รู้จักอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (IoT) ประกอบด้วย

    Chapter 1 Introduction

    Chapter 2 IoT Components

    Chapter 3 Real-world Application of IoT

    Chapter 4 Conclusion 

อาจารย์ผู้สอน
    • ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์

    ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ