Computer Vision Programming
รศ.ดร. ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์
หลักสูตร Chula Mooc Flexi
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
8 บทเรียน
9 วิดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
certificate of completion
นิสิตจุฬา ฯ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีและดิจิทัล
การสร้างและการแทนภาพดิจิทัล การปรับปรุงภาพ การตรวจหาลักษณะเด่น สี ลวดลาย การแบ่งส่วนภาพ การรู้จำวัตถุ การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับคอมพิวเตอร์วิชัน การตรวจหาวัตถุ การมองเห็น 3 มิติ การมองเห็นพลวัตในภาพ การพัฒนาและการติดตั้งปรับใช้ระบบประยุกต์ด้านวิชัน
1.เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการและวิธีในการประมวลผลภาพและเทคนิคในคอมพิวเตอร์วิชัน
2.เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้พื้นฐานและเครื่องมือในการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผลภาพ
3.เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้การใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่องที่ใช้ในงานด้านคอมพิวเตอร์วิชัน
4.เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมประยุกต์สำหรับงานด้านคอมพิวเตอร์วิชัน
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1.ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2.ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
เนื้อหาในรายวิชา การพัฒนาโปรแกรมด้วยความสามารถของคอมพิวเตอร์วิชั่น Computer Vision Programming ประกอบด้วย
บทที่ 1 รู้จักคอมพิวเตอร์วิชัน
บทที่ 2 เล่นกับภาพ
บทที่ 3 การประมวลผลภาพ
บทที่ 4 การสกัดคุณลักษณะในภาพ
บทที่ 5 เล่นกับวีดิโอ
บทที่ 6 รู้จำภาพ
บทที่ 7 ตรวจจับวัตถุ
บทที่ 8 โครงงานรวบยอด
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย