ความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ (จุฬาฯ)
ทีมคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะทันตแพทยศาสตร์
วิชาความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในแง่ของประชาชนทั่วไปที่ควรรู้และ ตระหนัก บทบาทความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดอุบัติการณ์และผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ให้ เหลือน้อยที่สุดรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อการคืนสภาพให้มากที่สุดจากเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์และความปลอดภัยของผู้ป่วย ความเข้าใจระบบและผลของความซับซ้อน ในการดูแลผู้ป่วย การเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของทีม การเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อการป้องกันอันตราย ความเข้าใจและการจัดการกับความเสี่ยงทางคลินิก การใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อปรับปรุงการดูแล การมี ส่วนร่วมของผู้ป่วยและผู้ดูแลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและหัตถการที่รุกล้ำ และความปลอดภัยในการใช้ยา
ยาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ (จุฬาฯ)
ผศ. ภก. ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ, ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, อ.ภญ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง และ อ.ภก.บวรภัทร สุริยะปกรณ์
รายวิชายาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง ยา มีความสำคัญต่อบุคคลทุกเพศทุกวัย และเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้เพราะว่า การใช้ยา ผู้ที่จะใช้ต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง สำหรับวิชานี้จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาและคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษอย่างถูกวิธี ยาที่จะกล่าวถึงได้แก่ ยาที่ใช้สำหรับปาก ตา หู จมูก และทางทวาร หรือไม่ว่าจะเป็นยาที่ใช้สำหรับกลุ่ม เช่น ยาสำหรับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย ลดโรค ลดเสี่ยง ชีวิตยืนยาว รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์
วิชา สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย ลดโรค ลดเสี่ยง ชีวิตยืนยาว จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับทำไมต้องออกกำลังกาย ความสำคัญของการออกกำลังกาย หลักการของการออกกำลังกาย รูปแบบการออกกำลังกาย และท่าบริหารง่ายๆ โดยผู้สอนเห็นว่า การดำรงชีวิตในปัจจุบันของคนเมืองส่วนใหญ่กิจกรรมในแต่ละวันก็จะมุ่งเน้นไปที่การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ทำให้คนเหล่านั้นมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และทำให้ป่วยเป็นโรคเพิ่มจำนวนผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนกลุ่มวัยทำงานไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และบางคนคิดว่าการรับประทานอาหารที่ดีก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายและบางกลุ่มก็คิดว่าการออกกำลังกาย คือการที่จะต้องไปเข้าฟิตเนสเท่านั้น จริงๆ แล้วการออกกำลังกายสามารถทำได้ทุกที่ ไม่ว่าจะในที่ทำงาน หรือที่บ้าน เพราะฉะนั้นเราควรมาออกกำลังกาย แค่วันละ 30 นาทีก็จะทำให้การออกกำลังกายนั้นสัมฤทธิ์ผลและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ความรู้เรื่องตาสำหรับประชาชน Eye for all (จุฬาฯ)
รศ. พญ.วิลาวัณย์ พวงศรีเจริญ ผศ. ดร.เปรมจิต เศาณานนท์ และอ. นพ.สุภณัฐ อภิญญาวสีสุข
วิชาความรู้เรื่องดวงตาสำหรับประชาชน (Eye for all) เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การตรวจคัดกรองโรคตา ความรู้เรื่องโรคเกี่ยวกับตา ไม่ว่าจะเป็น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ต้อลม ตาขี้เกียจ และอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ถึงสาเหตุ อาการของโรค และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง และถูกวิธี รวมถึงการป้องกันเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง (จุฬาฯ)
ศ. ดร. ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช
วิชา กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง จะมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บทเรียน โดยจะนำเสนอเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของอาหารกับโรคมะเร็ง โดยการให้ข้อมูลสถานการณ์ความเจ็บป่วย ชี้แนะเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การก่อโรคมะเร็ง ให้ความกระจ่างในประเด็นปัญหาความสับสนเรื่องอาหารกับโรคมะเร็ง ทั้งยังสร้างความตระหนักในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ก่อนส่งให้ผู้อื่น แนะนำและอธิบายวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับอาหารกับการเกิดโรคมะเร็ง และสรุปรวบยอด อาหารที่เสี่ยง และอาหารที่ช่วยปกป้องจากโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นการให้ความรู้แก่ผู้เรียนเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
อาหารสุขภาพ รู้ทัน รู้จริง รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
ศ. ดร. ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช
วิชาอาหารสุขภาพ รู้ทัน รู้จริง จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีห่างไกลจากโรค ด้วยข้อแนะนำการกินอาหารที่ถูกต้อง สำหรับกรใช้ชีวิตในสังคมยุคดิจิทัล และสื่อโซเชียลที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมากมาย ทำอย่างไรจึงจะรู้เท่าทัน ทำอย่างไรจึงจะไม่ตกเป็นเหยื่อ ข่าวลวงมากมายที่ทำให้ผู้คนไขว้เขว สับสน กับข้อมูลอาหารที่ทำให้มีสุขภาพดี ซึ่งนำไปสู่การแชร์จนมีการปฏิบัติตาม และสามารถนำไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพได้
Music Therapy ดนตรีบำบัด (จุฬาฯ)
อ.ภัชชพร ชาญวิเศษ
วิชา Music Therapy ดนตรีบำบัด เนื้อหาวิชานี้จะมุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับดนตรีบำบัดเบื้องต้น โดยผู้เรียนจะได้เข้าใจความหมาย ความเป็นมาของดนตรีบำบัด เรียนรู้วิธีการทำงานของนักดนตรีบำบัดที่ได้มาตรฐาน ได้เห็นภาพในการทำงานดนตรีบำบัดโดยรวม ได้เรียนรู้เทคนิคการใช้ดนตรีและเครื่องดนตรีในทางการบำบัด เข้าใจถึงทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญในการเป็นนักดนตรีบำบัด และสามารถนำดนตรีไปใช้เพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้นได้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐาน
คุณวราพล โล่วรรธนะมาศ
เรียนรู้หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างถูกวิธี
สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming (จุฬาฯ)
รศ. ภญ. ดร.มะลิ วิโรจน์แสงทอง รศ. ภก. ดร.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์ รศ.สัตถาพร สิโรตมรัตน์ อ. ภก. ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน และอ. ดร.กรรณิกา ขันธศุภ
รายวิชา สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง สาเหตุโลกร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่ระบาดของพาหะนำโรค เชื้อโรคที่มีผลจากภาวะโลกร้อน ปัญหาสุขภาพกับภาวะโลกร้อน และกาจัดการ ภาวะอาหารเป็นพิษ การสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต การจัดการด้านอารมณ์และจิตใจ การดูแลเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และสุขอนามัย และสุดท้ายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ และสารพิษตกค้าง
Beautiful Death
ศ. ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
วิชา Beautiful Death การตายอย่างมีคุณภาพ รายวิชานี้จะนำเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนมาทำความเข้าเรื่องการตาย การจัดการอารมณ์ของผู้ที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย การจัดการอารมณ์ของผู้ที่ต้องสูญเสีย และสามารถอธิบายแนวทางการจัดการกับอารมณ์ให้เรื่องความตายได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม รวมไปถึงวิธีการให้ผู้เรียนสามารถคิดอย่างมีวิจารญาณ มีทักษะการคิด แก้ปัญหา และมีทักษะการบริหารการจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม