Music Therapy ดนตรีบำบัด (จุฬาฯ)

อ.ภัชชพร ชาญวิเศษ

หลักสูตร Chula MOOC

  • มีสุขภาวะที่ดี
  • รหัสวิชา: CHULAMOOC5024.CU01
    4.8
  • หน่วยกิต :

FREE
ที่ว่าง 172/5000
  • ลงทะเบียน

    10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

  • เวลาเรียน

    10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

  • เนื้อหา

    5 บทเรียน

  • วิดีโอ

    5 วีดีโอ

  • ระยะเวลา

    ไม่กำหนด

  • เอกสาร

    ไม่มี

  • เกณฑ์เรียนจบ

    ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป

  • ประกาศนียบัตร

    CHUAL MOOC

  • กลุ่มเป้าหมาย

    นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ

แนะนำรายวิชา
'
เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา Music Therapy ดนตรีบำบัด เนื้อหาวิชานี้จะมุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับดนตรีบำบัดเบื้องต้น โดยผู้เรียนจะได้เข้าใจความหมาย ความเป็นมาของดนตรีบำบัด เรียนรู้วิธีการทำงานของนักดนตรีบำบัดที่ได้มาตรฐาน ได้เห็นภาพในการทำงานดนตรีบำบัดโดยรวม ได้เรียนรู้เทคนิคการใช้ดนตรีและเครื่องดนตรีในทางการบำบัด เข้าใจถึงทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญในการเป็นนักดนตรีบำบัด และสามารถนำดนตรีไปใช้เพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้นได้

วัตถุประสงค์และสิ่งที่ได้จากเรียน

    เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจความหมายของดนตรีบำบัด เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพนักดนตรีบำบัด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำดนตรีบำบัดไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

เนื้อหาหลักสูตร

    บทที่ 1 ดนตรีบำบัด

    1.1 ที่มาขอดนตรีบำบัด

    1.2 คำนิยามของดนตรีบำบัด

    บทที่ 2 องค์ประกอบของดนตรีบำบัด

    2.1 นักดนตรีบำบัดวิชาชีพ (Professionally Trained Music Therapy)

    2.2 ผู้เข้ารับการบำบัด (Client with a need)

    2.3 กระบวนการบำบัด (Therapeutic Process)

    2.4 สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (Therapeutic Relationship)

    2.5 การใช้ดนตรีในดนตรีบำบัด

    2.5.1 กิจกรรมและกระบวนการทางดนตรีแบบ Improvisation

    2.5.2 กิจกรรมและกระบวนการทางดนตรีแบบ Composition

    2.5.3 กิจกรรมและกระบวนการทางดนตรีแบบ Recreative

    2.5.4 กิจกรรมและกระบวนการทางดนตรีแบบ Receptive

    บทที่ 3 ดนตรีบำบัดในยุคความปกติใหม่ (New Normal)

    3.1 การทำดนตรีบำบัดรูปแบบปกติใหม่ (New Normal)

    3.2 การทำดนตรีบำบัดรูปแบบออนไลน์ (Online)

    3.3 แนะนำ PODCAST "โครงการ Thai Music Therapy Channel"

    บทที่ 4 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับดนตรีบำบัด

    บทที่ 5 เส้นทางและประสบการณ์เป็นนักดนตรีบำบัด

อาจารย์ผู้สอน
    • อ.ภัชชพร ชาญวิเศษ

    อาจารย์ประจำ คณะศิลปกรรมศาสตร์

คอร์สแนะนำ