วิจัยไทบ้าน: นิเวศวิทยาพื้นบ้านในการจัดการทรัพยากร
ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
การเมืองเรื่องความรู้ในการจัดการทรัพยากรและการพัฒนา ความสำคัญของนิเวศวิทยาพื้นบ้านในการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน แนวคิดและวิธีการในการทำวิจัยไทบ้านเพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาพื้นบ้าน การนำความรู้ด้านนิเวศวิทยาพื้นบ้านไปใช้ในการจัดการทรัพยากรและการพัฒนา
SDGs x CHULA : จุฬากับนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (จุฬาฯ)
ทีมคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ (SDGs) ของสหประชาชาติผ่านนโยบายและการดําเนินงานการวิจัยและนวัตกรรมการเรียนการสอนตลอดจนการเข้าถึงและการมีส่วนร่วม ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จึงได้ดําเนินการจัดทําสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง SDGs x CHULA : จุฬากับนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะมีเนื้อหาที่นําเสนอเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ซึ่งกําหนดโดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ และนําเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืน
แผ่นดินไหว ธรณีพิโรธที่น่ากลัว (Earthquake - A horrow geohazard) (จุฬาฯ)
ศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ
รายวิชา แผ่นดินไหว ธรณีพิโรธที่น่ากลัว (Earthquake - A horrow geohazard) เป็นการนำเสนอความรู้ที่จำเป็นและสำคัญสำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาจะนำเสนอเกี่ยวกับความเป็นมาและแนวคิดเรื่องแผ่นดินไหว ความเข้าใจการเกิดพิบัติภัยแผ่นดินไหว แนวทางป้องกันที่ลดพิบัติภัย รวมถึงวิธีการเอาตัวรอดหากเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น
เศรษฐกิจเกษตร (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.วริพัสย์ เจียมปัญญารัช
วิชาเศรษฐกิจเกษตร จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับการเกษตร โครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรของไทย การผลิต การจัดการผลผลิต การตลาดสินค้าการเกษตร การวิเคราะห์การตลาด การจัดการสินค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบจำลองการผลิต ระบบอุปสงค์และอุปทาน ปัจจัยของราคาและปริมาณของสินค้า สหกรณ์การเกษตร สินเชื่อการเกษตร การจัดการสินค้าการเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้นเพื่อเป็นการแผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการการเกษตรให้แก่ นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพื่อใช้ประกอบการทำงาน
การจัดการอากาศเปลี่ยนแปลง
ดร.เวฬุกา รัตนวราหะ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทิศทางโลกและการบรรเทาผลกระทบ เป้าหมายการลดปัญหาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและการบริหารจัดการและแบ่งปันของ SCG
0201285 สังคมเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพของพืช
ศ. ดร.วนิดา จีนศาสตร์, ผศ.เตือนใจ โก้สกุล, ผศ. ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
รายวิชาสังคมเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพของพืช เรียนรู้เกี่ยวกับ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชกับการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อาหาร พืชสมุนไพรไทย ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สังคมเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพของพืช สังคมเศรษฐกิจสีเขียว การอนุรักษ์ความหลากหลายด้านพันธุกรรมของพืช ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
2746292 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผศ. ดร.อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร ผศ. ดร.หทัยรัตน์ ทับพร ผศ. ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก อ. ดร.สวรส ธนาพรสังสุทธิ์ อ. ดร.เปศล ชอบผล และ อ. ดร.ดวงกมล บางชวด
ความรู้ ความเข้าใจในสังคมไทยและสังคมโลกเพื่อการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง อย่างมีสำนึกสากล ที่สอดคล้องกับกระบวนทัศน์การพัฒนา การคิดและวิเคราะห์เชิงระบบในประเด็นและปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นผู้ประกอบการที่ตระหนักรู้และความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน การเสนอทางเลือกการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนฐานความร่วมมือระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับโลก และกลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย เพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน