การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน (จุฬาฯ)
อ. ดร.กฤษณะ พันธุ์เพ็ง
หลักสูตร Chula MOOC
2 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
2 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
14 บทเรียน
14 วีดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
Chula Mooc
นิสิตและบุคลากร จุฬาฯ
วิชา การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับศิลปะการแสดงในระดับเบื้องต้น โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการแสดง การพัฒนาทักษะที่จำเป็น การฝึกฝนสำหรับนักแสดง การสร้างสรรค์ตัวละคร การวิเคราะห์ตัวละคร การซ้อมและสร้างฉากการแสดงอย่างสั้น โดยผู้เรียนจะได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการแสดงเดี่ยวของตัวเอง (Monologue) และได้บันทึกการแสดงผ่านกล้องถ่ายวิดีโอ การเรียนการสอนในวิชาจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันใน Facebook Group โดยผู้เรียนจะได้รับทักษะทางด้านการสื่อสารผ่านร่างกายและเสียงเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และลักษณะนิสัยของตัวละครที่เพิ่มมากขึ้น สามารถสื่อสารหลักการและทักษะพื้นฐานในการเป็นนักแสดงได้ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครและการแสดงได้อย่างมีหลักการและสร้างสรรค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์การแสดงเดี่ยวขนาดสั้นได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการและทักษะพื้นฐานในการเป็นนักแสดงได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครและการแสดงได้อย่างมีหลักการและสร้างสรรค์
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
บทที่ 1 แนะนำรายวิชา และผู้สอน
บทที่ 2 VOX POP การแสดงที่ดูแล้วรู้สึกประทับใจเป็นอย่างไร
บทที่ 3 องค์ประกอบหลักของการแสดงละคร
บทที่ 4 ส่วนประกอบของการเป็นนักแสดง
บทที่ 5 หลักในการสร้างเรื่องและตัวละครที่มีเอกลักษณ์
บทที่ 6 หลักการวิเคราะห์ตัวละครในเชิงสัจนิยมเชิงจิตวิทยา
บทที่ 7 วิเคราะห์การแสดง
บทที่ 8 VOX POP นักแสดงที่ดีต้องมีทักษะอะไรบ้าง
บทที่ 9 แบบฝึกหัดในการฝึกฝนทางร่างกาย การรับรู้และสติ
บทที่ 10 แบบฝึกหัดในการฝึกฝนการใช้เสียง
บทที่ 11 การพัฒนาบทพูดเพื่อการแสดงเดี่ยว
บทที่ 12 ข้อแนะนำในการซ้อมการแสดงอย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ 13 การบันทึกการแสดง และการเผยแพร่ผลงาน
บทที่ 14 แนวทางในการซ้อมการแสดง
ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง
คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย