สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming (จุฬาฯ)
รศ. ภญ. ดร.มะลิ วิโรจน์แสงทอง รศ. ภก. ดร.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์ รศ.สัตถาพร สิโรตมรัตน์ อ. ภก. ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน และอ. ดร.กรรณิกา ขันธศุภ
รายวิชา สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง สาเหตุโลกร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่ระบาดของพาหะนำโรค เชื้อโรคที่มีผลจากภาวะโลกร้อน ปัญหาสุขภาพกับภาวะโลกร้อน และกาจัดการ ภาวะอาหารเป็นพิษ การสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต การจัดการด้านอารมณ์และจิตใจ การดูแลเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และสุขอนามัย และสุดท้ายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ และสารพิษตกค้าง
Beautiful Death
ศ. ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
วิชา Beautiful Death การตายอย่างมีคุณภาพ รายวิชานี้จะนำเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนมาทำความเข้าเรื่องการตาย การจัดการอารมณ์ของผู้ที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย การจัดการอารมณ์ของผู้ที่ต้องสูญเสีย และสามารถอธิบายแนวทางการจัดการกับอารมณ์ให้เรื่องความตายได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม รวมไปถึงวิธีการให้ผู้เรียนสามารถคิดอย่างมีวิจารญาณ มีทักษะการคิด แก้ปัญหา และมีทักษะการบริหารการจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
0296112 เรียนให้รู้ อยู่ให้เป็น (LIFE SKILLS)
การเรียนรู้การประยุกต์ใช้หลักการสำคัญ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิผลสูง การเสริมสร้างทักษะชีวิต เพื่อสร้างคุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ภาวะผู้นำ และทักษะสำคัญอื่น ๆ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ตามหลักการอันประกอบด้วยการเป็นคนโปรแอคทีฟ การเริ่มต้นโดยมีเป้าหมายในใจ การทำสิ่งที่สำคัญก่อน คิดแบบชนะ-ชนะ การทำเข้าใจผู้อื่นก่อนให้ผู้อื่นเข้าใจเรา การผนึกพลังประสานความต่าง การดูแลตนเองทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และจิตวิญญาณ ดังเช่นการลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ
2305103 พืชเพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
อาจารย์ ดร.ยุพิน จินตภากร
พืชในฐานะผู้ผลิตปฐมภูมิ แหล่งอาหารและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ การใช้พืชและพื้นที่สีเขียวเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตใจ บทบาทของพืชในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและพื้นที่สีเขียวแบบต่าง ๆ และวิธีการจัดการกับพืชเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน การจัดการพืชในระบบเศรษฐกิจพอเพียงและมีการศึกษานอกสถานที่
2303165 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
อ. ดร.วรัญญา อรัญวาลัย อ.ดร.นนทิวืชญ ตัณฑวณิช และ ผศ. ดร.พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
กำเนิดมนุษย์และวิวัฒนาการของมนุษย์ สภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติและความสมดุลในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมของมนุษย์ สังคมและการเพิ่มประชากร ผลกระทบของมนุษย์ต่อสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ แนวทางในการแก้ไขปัญหา เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์
0295110 ไวน์ศึกษา ( WINE EDUCATION )
ผศ. ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย
ชนิดของไวน์และกรรมวิธีการผลิตไวน์ ชนิดพันธุ์องุ่น วิธีการอ่านฉลากไวน์ การวิเคราะห์ไวน์ด้วยวีธีการมอง การดมกลิ่น และการชิมบวกการดมกลิ่น เทคนิคการจับคู่ไวน์และอาหาร องค์ประกอบของอาหาร แหล่งผลิตไวน์ที่สำคัญ ความสำคัญของไวน์ต่อสังคมและวัฒนธรรม การเป็นผู้ประกอบการด้านไวน์
0201108 Family Relations ครอบครัวสัมพันธ์
ศ. ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
ความหมายและความสำคัญของครอบครัวในมุมมองด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ปัจจัยเอื้อต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว กระบวนการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว การวิเคราะห์และคลี่คลายปัญหาครอบครัวจากมุมมองแบบองค์รวม
0201285 สังคมเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพของพืช
ศ. ดร.วนิดา จีนศาสตร์, ผศ.เตือนใจ โก้สกุล, ผศ. ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
รายวิชาสังคมเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพของพืช เรียนรู้เกี่ยวกับ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชกับการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อาหาร พืชสมุนไพรไทย ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สังคมเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพของพืช สังคมเศรษฐกิจสีเขียว การอนุรักษ์ความหลากหลายด้านพันธุกรรมของพืช ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
2305108 เทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน
อ. ดร.ยุพิน จินตภากร
ประวัติการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เซลล์พื้นฐานของชีวิต การผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม เทคโนโลยีชีวภาพในงานพฤกษศาสตร์ การขยายพันธุ์สัตว์ การแพทย์อุตสาหกรรมอาหาร และนิเวศวิทยา ความปลอดภัยของผู้บริโภค และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
3600209 การดูแลในภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ
ผศ. ร.ต.ต.(ญ) ดร.ปชาณัฎฐ์ นันไทยทวีกุล
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลในภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบ แนวทางการป้องกัน วิธีการปฏิบัติและการดูแลที่ถูกต้องทั้งก่อนและขณะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แนวทางการจัดการที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับภัยพิบัติและการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมเมื่อเกิดเหตุการณ์