Principles of Innovation and Entrepreneurship: VIE รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

ศ. น.สพ. ดร.มงคล เตชะกำพุ รศ. ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ดร.รณกร ไวยวุฒิ คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติและ คุณธนยศ เอื้อวิศาลวรวงศ์

หลักสูตร Chula MOOC

  • นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ
  • รหัสวิชา: CHULAMOOC3008.CU02
    4.8
  • หน่วยกิต :

FREE
ที่ว่าง 203/5000
  • ลงทะเบียน

    8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

  • เวลาเรียน

    8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

  • เนื้อหา

    10 บทเรียน

  • วิดีโอ

    10 วีดีโอ

  • เอกสาร

    ไม่มี

  • เกณฑ์เรียนจบ

    ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป

  • ประกาศณียบัตร

    Chula Mooc

  • กลุ่มเป้าหมาย

    นิสิตและบุคลากร จุฬาฯ

แนะนำรายวิชา
เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา Principles of innovation and entrepreneurship จะเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรมทางสัตวแพทย์ ความสำคัญของนวัตกรรม แนวคิด และประเภทนวัตกรรม ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม การบริการงานธุรกิจและการจัดการการเงินสำหรับสัตวแพทย์ โดยทีมผู้สอนมีแนวคิดว่า สัตวแพทย์ควรได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ให้ทันยุคสมัย การเป็นสัตวแพทย์นวัตกรนั้น จะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน มีการสร้างนิเวศน์ในการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถต่อยอด นำไปใช้ประโยชน์ และสร้างคุณค่า ไม่ว่าจะในด้านธุรกิจหรือคุณค่าต่อเกษตรกรได้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม

วัตถุประสงค์และสิ่งที่ได้จากเรียน

    1. เพื่อเปิดโลกทัศน์การสร้างงานนวัตกรรมทางสัตวแพทย์

    2. เพื่อสร้างโอกาสให้นิสิตสัตวแพทย์ และผู้ที่สนใจในหน่วยงานต่างๆ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการทางสัตวแพทย์ที่ประสบผลสำเร็จ

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

    2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

เนื้อหาหลักสูตร

    บทที่ 1 แนวคิด ความสำคัญ และประเภทของนวัตกรรม

    บทที่ 2 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม

    บทที่ 3 ระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem)

    บทที่ 4 Make a Veterinary Innovation Possible

    บทที่ 5 Business & Financial Management

    บทที่ 6 ภาพธุรกิจเกษตร และปศุสัตว์

    บทที่ 7 การตลาดและการตลาดในธุรกิจสัตว์

    บทที่ 8 การทำธุรกิจปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

    บทที่ 9 Customer Validation (การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า) Part 1

    บทที่ 10 Customer Validation (การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า) Part 2

อาจารย์ผู้สอน
    • ศ.น.สพ.ดร.มงคล เตชะกำพุ

    ภาควิชาสูติศาสตร์
    เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
    คณะสัตวแพทยศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย

    ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ดร.รณกร ไวยวุฒิ

    ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรม
    แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    (CU Innovation HUB)

    • คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

    ที่ปรึกษาสมาคมนักวางแผนการเงินไทย

    • คุณธนยศ เอื้อวิศาลวรวงศ์

    ผู้อำนวยการบริหารความสัมพันธ์
    ลูกค้าองค์กร บริษัท เบทาโกร จำกัด