(สำหรับนิสิตและบุคลากรทุกคน)หลักสูตรความร่วมมือทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยได้นำหลักสูตรพิเศษที่น่าสนใจจากสถาบันการเรียนรู้ต่างๆ มาให้นิสิตได้เลือกเรียนและพัฒนาตนเองผ่าน CHULA MOOC เพื่อเก็บสะสมผลการเรียนรู้ต่างๆไว้ในระบบ Chula Neuron
คอร์สเรียนจาก CHULA MOOC นี้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียน วิชา 0295103 LRNG LIFE การเรียนรู้เพื่อชีวิต สามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ในตามเงื่อนไขที่รายวิชากำหนด
ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ (Awaken Your Creative Power) (จุฬาฯ)
อาจารย์ ธงชัย โรจน์กังสดาล
วิชาปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิชาที่จะนำเสนอเกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การจะเป็นนักสร้างสรรค์ผลงานที่ดีได้ ผู้เรียนจะต้องมี การจดบันทึก การตั้งคำถาม การสังเกต การหาไอเดียใหม่ ๆ การลงมือทำ และลองหาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
ทำอย่างไรให้สินค้า Go Inter ขายได้ขายดี และดังข้ามโลก (จุฬาฯ)
รศ. ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
รายวิชา ทำอย่างไรให้สินค้า go inter... ขายได้ขายดี และดังข้ามโลก จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับหัวใจของการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ โดยจะนำเสนอแนวคิดต่างๆ และเทคนิคสั้นๆ ง่ายๆ ที่จะทำให้ธุรกิจการค้าสามารถส่งออกสินค้าไปขายทั่วโลก และจะเป็นการค้าที่ยั่งยืนต่อไป
มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด: Conversation มั่นใจ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
อ.มณฑิรา ดำรงมณี
รายวิชา มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด : Conversation มั่นใจ จะสอนเทคนิควิธีทำข้อสอบแนว Conversation หรือ Part ที่เรียกว่า Speaking โดยนำเสนอ Expressions, Idioms หรือ Proverbs ที่พบเห็นบ่อยในชีวิตจริง และในข้อสอบ นอกจากนี้สามารถนำไปใช้เตรียมตัวสอบได้อย่างมั่นใจ รวมถึงสามารถใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
ภาษาสเปนเบื้องต้นสำหรับการสื่อสาร (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.เพ็ญพิสาข์ ศรีวรนารถ
วิชาภาษาสเปนเบื้องต้นสำหรับการสื่อสารจะมุ่งสอนภาษาสเปนขั้นพื้นฐาน ทั้งรูปประโยค โครงสร้างไวยากรณ์ คำศัพท์ และสำนวน วิชานี้ต้องการให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง พร้อมแทรกเกร็ดน่ารู้ทางวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการนำเสนอง่าย ๆ น่าสนใจ อีกทั้งยังย้ำประเด็นที่ผู้เรียนชาวไทยอาจประสบปัญหาในการเรียน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาสเปนเพื่อนำไปสื่อสารขั้นพื้นฐานในระยะเวลาอันรวดเร็ว หรือเดินทางท่องเที่ยว ณ กลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาสเปน สำหรับทักษะที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะได้รับ คือ ทักษะการสื่อสารด้วยประโยคและคำศัพท์เบื้องต้นสำหรับใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน
ทรัพย์สินทางปัญญากับธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรม (จุฬาฯ)
รศ. ดร.ดวงหทัย เพ็ญตระกูล
วิชาทรัพย์สินทางปัญญากับธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรม เนื้อหาจะกล่าวถึง ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรม การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ คิดค้น และสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ และการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร มาเรียนรู้ความหมายของคำว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกต้อง อะไรบ้างที่จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญา อายุความคุ้มครองนานเท่าใด ความรู้เรื่องสิทธิบัตร ประเภทสิทธิบัตร เรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการนำเสนอความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับ ธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรมให้แก่บุคลากร นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป รวมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานตามวิชาชีพ และประโยชน์ด้านอื่นๆ
Kanji Cool Kit: คู่คิด คันจิ (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.อัษฎายุทธ ชูศรี
วิชา Kanji Cool Kit: คันจิ คู่คิด จะมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บทเรียน โดยสอนเกี่ยวกับ หลักการของคันจิ ไม่ว่าจะเป็น การเขียน การอ่าน การคาดเดาความหมาย เคล็ดลับในการจดจำอักษรคันจิ รวมไปถึงอักษรคันจิเบื้องต้น 42 ตัว ความรู้เรื่องคันจิเบื้องต้นที่สำคัญและพบเห็นในชีวิตประจำวัน
ความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ (จุฬาฯ)
ทีมคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะทันตแพทยศาสตร์
วิชาความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในแง่ของประชาชนทั่วไปที่ควรรู้และ ตระหนัก บทบาทความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดอุบัติการณ์และผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ให้ เหลือน้อยที่สุดรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อการคืนสภาพให้มากที่สุดจากเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์และความปลอดภัยของผู้ป่วย ความเข้าใจระบบและผลของความซับซ้อน ในการดูแลผู้ป่วย การเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของทีม การเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อการป้องกันอันตราย ความเข้าใจและการจัดการกับความเสี่ยงทางคลินิก การใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อปรับปรุงการดูแล การมี ส่วนร่วมของผู้ป่วยและผู้ดูแลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและหัตถการที่รุกล้ำ และความปลอดภัยในการใช้ยา
Computational Thinking and My First Code (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.จารุโลจน์ จงสถิตย์วัฒนา และ ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี
Thinking Like a Programmer เป็นชุดวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฝึกและพัฒนาแนวความคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชุดวิชานี้ผู้เรียนจะฝึกการลำดับขั้นตอนรวมถึงการออกแบผังงานในการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมองและทำความเข้าใจกับปัญหาโดยการย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการโดยใช้การเขียนโปรแกรมภาษา Python เป็นเครื่องมือสื่อกลางการเรียนรู้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถฝึกทักษะดังกล่าวผ่านทางตัวอย่างและแบบฝึกหัดในบทเรียน รวมถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานหรือในชีวิตประจำวันได้
Coding for Beginners (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.จารุโลจน์ จงสถิตย์วัฒนา และ ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี
Thinking Like a Programmer เป็นชุดวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฝึกและพัฒนาแนวความคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชุดวิชานี้ผู้เรียนจะฝึกการลำดับขั้นตอนรวมถึงการออกแบผังงานในการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมองและทำความเข้าใจกับปัญหาโดยการย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการโดยใช้การเขียนโปรแกรมภาษา Python เป็นเครื่องมือสื่อกลางการเรียนรู้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถฝึกทักษะดังกล่าวผ่านทางตัวอย่างและแบบฝึกหัดในบทเรียน รวมถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานหรือในชีวิตประจำวันได้
การทำความเข้าใจงบการเงิน (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์
รายวิชาการทำความเข้าใจงบการเงิน จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ประโยชน์ของแต่ละงบการเงิน ความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด
การเล่าเรื่องและการออกแบบสื่อ (จุฬาฯ)
ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา และ อ.ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่อง การจัดทำโครงสร้าง องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคการอุปมาและการเปรียบเทียบ ตลอดจนการออกแบบสื่อ เช่น สไลด์นำเสนอ ข่าวประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น สื่อสังคม (Social media) เหตุการณ์พิเศษ (Special Event) เพื่อให้สามารถเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและบริบท
การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล
การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Fostering Self-Directed Learning) เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการมโนทัศน์ หลักการ เป้าหมาย และความเป็นมาของการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในโลกยุคใหม่ คุณลักษณะของผู้เรียนผู้ใหญ่ กระบวนการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เทคนิค วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ บทบาทของผู้สอนในฐานะผู้นำการส่งเสริมการเรียนรู้