รู้จักอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง
ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์
หลักสูตร Chula Mooc Flexi
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
4 บทเรียน
7 วีดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
certificate of completion
นิสิตจุฬา ฯ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีและดิจิทัล
แนะนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (IoT) ความหมาย ความเป็นมา และการประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีได้แก่ ระบบการบริหารจัดการข้อมูล ระบบอุปกรณ์และการตรวจวัดค่า (Sensors) ระบบการส่งข้อมูล ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการวิเคราะห์ และระบบนำเสนอข้อมูล กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลในทางธุรกิจและอุตสาหกรรม
1) เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายแนวคิดและองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งได้
2) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์และต่อยอดการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งไปใช้ในทางธุรกิจและอุตสาหกรรมได้
3) เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงประโยชน์ ข้อควรระวังของการใช้งานและการวางระบบเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งได้
การวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Post test ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
เนื้อหาในรายวิชา รู้จักอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (IoT) ประกอบด้วย
Chapter 1 Introduction
Chapter 2 IoT Components
Chapter 3 Real-world Application of IoT
Chapter 4 Conclusion
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย