ทุกหมวด

Coding for Beginners (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.จารุโลจน์ จงสถิตย์วัฒนา และ ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
4.7
FREE
ลงทะเบียน :14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

Thinking Like a Programmer เป็นชุดวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฝึกและพัฒนาแนวความคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชุดวิชานี้ผู้เรียนจะฝึกการลำดับขั้นตอนรวมถึงการออกแบผังงานในการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมองและทำความเข้าใจกับปัญหาโดยการย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการโดยใช้การเขียนโปรแกรมภาษา Python เป็นเครื่องมือสื่อกลางการเรียนรู้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถฝึกทักษะดังกล่าวผ่านทางตัวอย่างและแบบฝึกหัดในบทเรียน รวมถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานหรือในชีวิตประจำวันได้

ที่ว่าง 500/500

การทำความเข้าใจงบการเงิน (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์

  • นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ
4.8
FREE
ลงทะเบียน :14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

รายวิชาการทำความเข้าใจงบการเงิน จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ประโยชน์ของแต่ละงบการเงิน ความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด

ที่ว่าง 676/5000

การเล่าเรื่องและการออกแบบสื่อ (จุฬาฯ)

ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา และ อ.ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
FREE
ลงทะเบียน :14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่อง การจัดทำโครงสร้าง องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคการอุปมาและการเปรียบเทียบ ตลอดจนการออกแบบสื่อ เช่น สไลด์นำเสนอ ข่าวประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น สื่อสังคม (Social media) เหตุการณ์พิเศษ (Special Event) เพื่อให้สามารถเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและบริบท

ที่ว่าง 887/5000

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

  • ความเป็นผู้นำ
4.8
FREE
ลงทะเบียน :14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Fostering Self-Directed Learning) เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการมโนทัศน์ หลักการ เป้าหมาย และความเป็นมาของการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในโลกยุคใหม่ คุณลักษณะของผู้เรียนผู้ใหญ่ กระบวนการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เทคนิค วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ บทบาทของผู้สอนในฐานะผู้นำการส่งเสริมการเรียนรู้

ที่ว่าง 141/5000

นาฏยกรรมสยาม ตอน “ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง” (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์

  • วัฒนธรรมความเป็นไทย
4.8
FREE
ลงทะเบียน :2 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

วิชานาฏยกรรมสยาม ตอน “ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง” เป็นวิชาที่ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภท การดำรงชีวิตของนักแสดง องค์ประกอบของการแสดง เครื่องแต่งกาย ท่าร่ายรำ รวมไปถึงขั้นตอนและกระบวนการจัดแสดงลิเก เพื่อให้แก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย และร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ลูกหลานได้ศึกษา

ที่ว่าง 47/5000

วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (จุฬาฯ)

รศ. ดร.วินัย ดะห์ลัน ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ ดร.พรพิมล มะหะหมัด คุณอาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ คุณซูไนนี มาหะมะ และ คุณอิรพัน แวหะมะ

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
4.8
FREE
ลงทะเบียน :2 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

วิชา วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้น สำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จะนำเสนอเกี่ยวกับ ความสำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความเข้าใจฮาลาลและหะรอมในอิสลาม โครงสร้างพื้นฐานการรับรองฮาลาล วิทยาศาสตร์เพื่อการรับรองฮาลาล และมาตรฐานระบบบริหารเพื่อจัดเตรียมอาหารฮาลาล เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ชีวิตประจำวันต่อไป

ที่ว่าง 50/5000

ความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ (จุฬาฯ)

ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน

  • นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ
4.8
FREE
ลงทะเบียน :2 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

วิชาความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ ต้องการนำเสนอความรู้ความเข้าใจในความผกผันทางประชากร (Demographic Disruption) ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับประชากร และเป็นส่ิงที่จำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ที่จะนำข้อมูลความผกผันของประชากรมาใช้วางแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือผลกระทบต่าง ๆ ในอนาคต

ที่ว่าง 156/5000

ยาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ (จุฬาฯ)

ผศ. ภก. ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ, ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, อ.ภญ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง และ อ.ภก.บวรภัทร สุริยะปกรณ์

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.9
FREE
ลงทะเบียน :2 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

รายวิชายาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง ยา มีความสำคัญต่อบุคคลทุกเพศทุกวัย และเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้เพราะว่า การใช้ยา ผู้ที่จะใช้ต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง สำหรับวิชานี้จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาและคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษอย่างถูกวิธี ยาที่จะกล่าวถึงได้แก่ ยาที่ใช้สำหรับปาก ตา หู จมูก และทางทวาร หรือไม่ว่าจะเป็นยาที่ใช้สำหรับกลุ่ม เช่น ยาสำหรับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ที่ว่าง 1648/5000

การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน (จุฬาฯ)

อ. ดร.กฤษณะ พันธุ์เพ็ง

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
4.9
FREE
ลงทะเบียน :2 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

วิชา การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับศิลปะการแสดงในระดับเบื้องต้น โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการแสดง การพัฒนาทักษะที่จำเป็น การฝึกฝนสำหรับนักแสดง การสร้างสรรค์ตัวละคร การวิเคราะห์ตัวละคร การซ้อมและสร้างฉากการแสดงอย่างสั้น โดยผู้เรียนจะได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการแสดงเดี่ยวของตัวเอง (Monologue) และได้บันทึกการแสดงผ่านกล้องถ่ายวิดีโอ การเรียนการสอนในวิชาจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันใน Facebook Group โดยผู้เรียนจะได้รับทักษะทางด้านการสื่อสารผ่านร่างกายและเสียงเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และลักษณะนิสัยของตัวละครที่เพิ่มมากขึ้น สามารถสื่อสารหลักการและทักษะพื้นฐานในการเป็นนักแสดงได้ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครและการแสดงได้อย่างมีหลักการและสร้างสรรค์

ที่ว่าง 223/5000

เศรษฐกิจเกษตร (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.วริพัสย์ เจียมปัญญารัช

  • การพัฒนาอย่างยั่งยืน
4.7
FREE
ลงทะเบียน :4 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

วิชาเศรษฐกิจเกษตร จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับการเกษตร โครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรของไทย การผลิต การจัดการผลผลิต การตลาดสินค้าการเกษตร การวิเคราะห์การตลาด การจัดการสินค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบจำลองการผลิต ระบบอุปสงค์และอุปทาน ปัจจัยของราคาและปริมาณของสินค้า สหกรณ์การเกษตร สินเชื่อการเกษตร การจัดการสินค้าการเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้นเพื่อเป็นการแผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการการเกษตรให้แก่ นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพื่อใช้ประกอบการทำงาน

ที่ว่าง 254/5000