Introduction to Smart Grid (จุฬาฯ)
คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชา Introduction to smart Grid จะบรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับระบบโครงข่ายไฟ้ฟ้าสมาร์ทกริด เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักกับแนวคิดการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟ้ฟ้าสมาร์ท กริดในเบื้องต้น แรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนา เปรียบเทียบความแตกต่างหลักระหว่างระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบเดิมกับแบบสมาร์ทกริด เข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของสมาร์ทกริด พร้อมทั้งการยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
การสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมสร้างภาพสามมิติ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายวิชา การสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมสร้างภาพสามมิติ จะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้างชิ้นงานต่างๆ เช่น สื่อการสอน ชิ้นส่วนทางวิศวกรรม เป็นต้น รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ
มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด : ศัพท์ทะลุ อ่านทะลวง รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
อ.มณฑิรา ดำรงมณี
รายวิชา มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด : ศัพท์ทะลุ อ่านทะลวง จะสอนเกี่ยวกับรากศัพท์และ Prefixes ที่พบบ่อย รวมถึงเทคนิคการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท เทคนิคการอ่าน และคำถามที่พบบ่อยในข้อสอบ Reading Comprehension
Giving Basic Presentations in English (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.จุฬาภรณ์ กองแก้ว ผศ.กรุณา นาผล และ อ.วรลัญจ์ กองพลพรหม
รายวิชาเรื่อง Giving Basic Presentations in English จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่องทักษะการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อสามารถเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ของการนำเสนอ รวมถึงได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาการนำเสนอ ขั้นตอนการเตรียมตัว การวางแผนการนำเสนอโดยมีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอที่ชัดเจน และองค์ประกอบต่าง ๆ ของการนำเสนอ เป็นต้น ทั้งยังให้ข้อมูลรายละเอียดด้านเทคนิคบางประการที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้เพื่อให้การนำเสนอของตนน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยมีการยกตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษที่น่าสนใจสำหรับส่วนต่างๆ ในการนำเสนอผลงานประกอบด้วย
บทบาทการขนส่งต่อการพัฒนาเมือง
อ. ดร.ปัทมพร วงศ์วิริยะ
บทบาทการขนส่งต่อการพัฒนาเมือง แนวคิดเกี่ยวกับเมืองและการขนส่ง แนวทางการพัฒนาเมืองในมิติการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น
นาฎยกรรมสยาม: โขน (จุฬาฯ)
รศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
รายวิชา นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน จะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภทของโขน ตัวละคร องค์ประกอบ ประเภทหัวโขน ท่าทางในการแสดง และขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขนในกลุ่มนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย
ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ (จุฬาฯ)
ผศ.ชูพงศ์ ปัญจมะวัต ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และ วิชญ์วิสิฐ ธิราชรัมย์
วิชา ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับปัญหาน้ำบ่าไหลหลากในช่วงฤดูฝน กับปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง องค์ประกอบของระบบนิเวศต้นน้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และป่าไม้ ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศ การหมุนรอบตัวเองของโลก กับการเคลื่อนที่ของลม ชนิดของเมฆ และเมฆฝน การให้บริการของน้ำท่าที่ไหลในลำธารของระบบนิเวศป่าต้นน้ำ การกัดชะพังทลายของดิน และงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำ
สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย ลดโรค ลดเสี่ยง ชีวิตยืนยาว รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์
วิชา สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย ลดโรค ลดเสี่ยง ชีวิตยืนยาว จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับทำไมต้องออกกำลังกาย ความสำคัญของการออกกำลังกาย หลักการของการออกกำลังกาย รูปแบบการออกกำลังกาย และท่าบริหารง่ายๆ โดยผู้สอนเห็นว่า การดำรงชีวิตในปัจจุบันของคนเมืองส่วนใหญ่กิจกรรมในแต่ละวันก็จะมุ่งเน้นไปที่การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ทำให้คนเหล่านั้นมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และทำให้ป่วยเป็นโรคเพิ่มจำนวนผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนกลุ่มวัยทำงานไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และบางคนคิดว่าการรับประทานอาหารที่ดีก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายและบางกลุ่มก็คิดว่าการออกกำลังกาย คือการที่จะต้องไปเข้าฟิตเนสเท่านั้น จริงๆ แล้วการออกกำลังกายสามารถทำได้ทุกที่ ไม่ว่าจะในที่ทำงาน หรือที่บ้าน เพราะฉะนั้นเราควรมาออกกำลังกาย แค่วันละ 30 นาทีก็จะทำให้การออกกำลังกายนั้นสัมฤทธิ์ผลและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ความรู้เรื่องตาสำหรับประชาชน Eye for all (จุฬาฯ)
รศ. พญ.วิลาวัณย์ พวงศรีเจริญ ผศ. ดร.เปรมจิต เศาณานนท์ และอ. นพ.สุภณัฐ อภิญญาวสีสุข
วิชาความรู้เรื่องดวงตาสำหรับประชาชน (Eye for all) เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การตรวจคัดกรองโรคตา ความรู้เรื่องโรคเกี่ยวกับตา ไม่ว่าจะเป็น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ต้อลม ตาขี้เกียจ และอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ถึงสาเหตุ อาการของโรค และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง และถูกวิธี รวมถึงการป้องกันเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง (จุฬาฯ)
ศ. ดร. ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช
วิชา กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง จะมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บทเรียน โดยจะนำเสนอเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของอาหารกับโรคมะเร็ง โดยการให้ข้อมูลสถานการณ์ความเจ็บป่วย ชี้แนะเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การก่อโรคมะเร็ง ให้ความกระจ่างในประเด็นปัญหาความสับสนเรื่องอาหารกับโรคมะเร็ง ทั้งยังสร้างความตระหนักในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ก่อนส่งให้ผู้อื่น แนะนำและอธิบายวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับอาหารกับการเกิดโรคมะเร็ง และสรุปรวบยอด อาหารที่เสี่ยง และอาหารที่ช่วยปกป้องจากโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นการให้ความรู้แก่ผู้เรียนเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน