ทุกหมวด

Universal Design (UD): การออกแบบเพื่อทุกคน (จุฬาฯ)

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ รศ.ภาวดี อังศุสิงห์ และผศ.กิตติอร ศิริสุข

  • พลเมืองที่ดีของสังคมโลก
4.9
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

การออกแบบเพื่อทุกคนเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถใช้งานได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านร่างกายและอายุ สำหรับรายละเอียดเนื้อหาที่จะกล่าวถึงในรายวิชานี้จะบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมา และความสำคัญของการออกแบบเพื่อทุกคน หลักของการออกแบบ เกณฑ์การออกแบบ การนำหลักการ UD ไปประยุกต์ใช้กับสถาปัตย์ การออกแบบ UD นี้ไม่ใช่เพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุ เท่านั้น การออกแบบดังกล่าวยังเหมาะสมกับคนท้อง เด็ก คนป่วย ฯลฯ อีกด้วย

ที่ว่าง 290/5000

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อ. ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล และ อ. ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ

  • พลเมืองที่ดีของสังคมโลก
4.8
FREE
ลงทะเบียน :8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

วิชากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ จะมีเนื้อหาทั้งหมด 10 บท จะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐทราบและเข้าใจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทักษะที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาเมื่อเรียนวิชานี้ คือ ผู้เรียนในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะตระหนักรู้ มีความรู้และความเข้าใจและสามารถดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ที่ว่าง 804/5000

ภาษารัสเซียเบื้องต้น รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

อ. ดร.รมย์ ภิรมนตรี

  • พลเมืองที่ดีของสังคมโลก
4.8
FREE
ลงทะเบียน :8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

รายวิชา ภาษารัสเซียเบื้องต้น จะมีเนื้อหาให้ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ระบบการออกเสียง ไวยากรณ์รัสเซียขั้นพื้นฐาน การฝึกทักษะด้านการฟัง พูดและอ่าน

ที่ว่าง 411/5000

การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC (จุฬาฯ)

รศ. ภญ. ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง ศ. ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล ผศ. ภญ. ดร.ทักษิณา ชวนอาษา ผศ. ภญ. ดร.วิชชุดา ธนกิจเจริญพัฒน์ และ อ. ภญ.จีรภัทร์ ดวงฉวี

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.8
FREE
ลงทะเบียน :8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

วิชา การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC จะกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร เทคนิคการตรวจอัตลักษณ์ของสมุนไพรในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร หลักการและเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี เทคนิคการแยกสารด้วย TLC ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค TLC/HPTLC การอ่านและแปลผลการทดสอบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประยุกต์ใช้การตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร หลักการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (method validation) สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC การค้นคว้าและการเลือกใช้แหล่งอ้างอิงในการวิเคราะห์สมุนไพร และหลักการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC โดยปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณที่ดีไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งนี้หากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้มีการเลือกนำสมุนไพรมาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการชำระล้างสารพิษออกจากร่างกาย ลดอาการอักเสบของผิวหนังลดรอยเหี่ยวย่น ทำให้ผิวขาวใส ดังนั้นหากมีการเรียนรู้ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้องและเหมาะสมเผยแพร่แก่ประชาชนที่สนใจเพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ว่าง 68/5000

HRM From Theories to Practices (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.เดชา เดชะวัฒนไพศาล

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
4.8
FREE
ลงทะเบียน :8 กันยายน 2565ิ เป็นต้นไป

รายวิชา HRM From Theories to Practices จะเป็นการศึกษาแนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ รวมถึงได้เรียนรู้และเข้าใจบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถนำความรู้ เครื่องมือ และวิธีการต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานในหน่วยงาน/องค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ที่ว่าง 517/5000

Principles of Innovation and Entrepreneurship: VIE รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

ศ. น.สพ. ดร.มงคล เตชะกำพุ รศ. ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ดร.รณกร ไวยวุฒิ คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติและ คุณธนยศ เอื้อวิศาลวรวงศ์

  • นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ
4.8
FREE
ลงทะเบียน :8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

วิชา Principles of innovation and entrepreneurship จะเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรมทางสัตวแพทย์ ความสำคัญของนวัตกรรม แนวคิด และประเภทนวัตกรรม ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม การบริการงานธุรกิจและการจัดการการเงินสำหรับสัตวแพทย์ โดยทีมผู้สอนมีแนวคิดว่า สัตวแพทย์ควรได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ให้ทันยุคสมัย การเป็นสัตวแพทย์นวัตกรนั้น จะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน มีการสร้างนิเวศน์ในการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถต่อยอด นำไปใช้ประโยชน์ และสร้างคุณค่า ไม่ว่าจะในด้านธุรกิจหรือคุณค่าต่อเกษตรกรได้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม

ที่ว่าง 204/5000

3600204 Health Sexuality เพศศาสตร์สุขภาพ

1. ผศ.ดร.รัชนีกร อุปเสน 2. ผศ.ดร.สุนทรีภรณ์ มีพริ้ง 3. อ. ภาวิณี ซ้ายกลาง

  • มีสุขภาวะที่ดี
5.0
FREE
ลงทะเบียน :นิสิตจุฬาฯ ลงทะเบียนตามภาคการศึกษาที่จุฬาฯ กำหนด

เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อและวัฒนธรรมในเรื่องเพศ บทบาทหญิง ชาย กำเนิดของชีวิต การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศ ทฤษฎีเพศศาสตร์ ความเบี่ยงเบนและความผิดปกติ ทางเพศ และสามารถป้องกันตนเองจากโรคและปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และวางแผนชีวิตสมรสของตนได้

ที่ว่าง 50/500

การประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมทำอย่างไร ? (จุฬาฯ)

รศ. ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
4.8
FREE
ลงทะเบียน :18 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

วิชาการประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมทำอย่างไร? เป็นวิชาที่จะสอนเกี่ยวกับ ความหมายและประโยชน์ รวมถึงขั้นตอนการจัดงานผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดงานเปิดตัว การเป็นผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรม การจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ การจัดกิจกรรมให้เข้าเยี่ยมชม การจัดการประชุมและสัมมนา การจัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ การจัดกิจกรรมบันเทิง และรูปแบบการจัดกิจกรรมอื่นๆ รวมถึงข้อดีและข้อเสียของการจัดกิจกรรม การจัดงานผ่านกิจกรรมไม่ได้เป็นประโยชน์เพียงแค่นักประชาสัมพันธ์ แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปที่มาเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย

ที่ว่าง 230/5000

หลักการพื้นฐานทางกฎหมายแพ่ง (จุฬาฯ)

อาจารย์ชนิสา งามอภิชน

  • ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
4.7
FREE
ลงทะเบียน :18 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

รายวิชา หลักการพื้นฐานทางกฎหมายแพ่ง จะมีเนื้อหาให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายอาญา โครงสร้างความรับผิดทางอาญา เหตุลดโทษ การพยายามกระทำความผิด บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และความผิดอาญาในบางฐานความผิดที่สำคัญ

ที่ว่าง 287/5000

รอบรู้ สู้มะเร็งเต้านม (จุฬาฯ)

รศ. พญ.สุกัญญา ศรีอัษฎาพร

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.8
FREE
ลงทะเบียน :18 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

วิชา รอบรู้ สู้มะเร็งเต้านม เป็นวิชาที่จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคเต้านม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดยผู้เรียนสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้มาตรวจสอบร่างกายของตนเองเบื้องต้นว่า เราอยู่ในประเภทใดบ้าง มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ และเพื่อให้ผู้เรียนได้รับทราบแลมีความรู้ถึงขั้นตอนการตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย วิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยการให้ยา การฉายแสง หรือการใช้รังสีรักษา

ที่ว่าง 99/5000