การทำความเข้าใจงบการเงิน (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์
หลักสูตร Chula MOOC
14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
5 บทเรียน
24 วีดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
Chula Mooc
นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ
รายวิชาการทำความเข้าใจงบการเงิน จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ประโยชน์ของแต่ละงบการเงิน ความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายองค์ประกอบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของได้
2. ผู้เรียนสามารถอธิบายรายการที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และงบกระแสเงินสดได้
3. ผู้เรียนสามารถอธิบายประโยชน์ของงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และงบกระแสเงินสดได้
4. ผู้เรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสดได้
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
เนื้อหาวิชา การทำความเข้าใจงบการเงิน ประกอบไปด้วย
บทที่ 1: งบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ส่วนที่ 1
บทที่ 2: งบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุน ส่วนที่ 2
บทที่ 3: งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
บทที่ 4: งบกระแสเงินสด
บทที่ 5: หมายเหตุประกอบงบการเงินและความสัมพันธ์ของงบการเงิน
ภาควิชาการบัญชี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย