Critical Thinking for Business (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.เดชา เดชะวัฒนไพศาล
หลักสูตร Chula MOOC
10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
14 วิชา
15 วีดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
CHULA MOOC
นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ
รายวิชา Critical Thinking for Business จะเป็นการศึกษาเรื่องกระบวนการคิด ตั้งแต่เรื่องกรอบความคิดเดิม (Paradigm) วิธีการตั้งคำถามแบบ Socratic Method และการคิดก่อนคิด (Thinking about Thinking) เพื่อคลายกรอบความคิดเดิม รวมถึงจะมีการนำเสนอเครื่องมือเพิ่มเติมในการฝึกคิด และกรณีศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการคิดในรูปแบบต่างๆ
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบแนวคิด และเทคนิค รวมถึงวิธีการคิดแบบ Critical Thinking
2. เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นระเบียบเพิ่มมากขึ้น 3. เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิดอย่างละเอียด และสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียน การทำงาน และชีวิตประจำวัน
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
ขอบเขตเนื้อหารายวิชา Critical Thinking for Business ประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 บรรยายเนื้อหา
1.1 Paradigm and Critical Thinking
1.2 Socratic Method
1.3 Thinking about Thinking
1.4 Tools
ส่วนที่ 2 ตัวอย่างกรณีศึกษาและแบบฝึกหัด
2.1 Exercise 1 : ปาฏิหาริย์
2.2 Exercise 2 : โรมิโอและจูเลียต
2.3 Exercise 3 : ลองกองหวาน
2.4 Exercise 4 : คนขับรถบรรทุกกับยาบ้า
2.5 Exercise 5 : ฝนตกรถติด
2.6 Exercise 6 : ใบเสร็จร้าน 7-11
2.7 Exercise 7 : Honda
2.8 Exercise 8 : จะเรียนต่อหรือไปทำงานดี
2.9 Exercise 9 : ช่างตัดผม
2.10 Exercise 10 : จุดยืน และ จุดสนใจ
2.11 สรุปบทเรียน
ภาควิชาพาณิชยศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี