หลักสูตร Chula MOOC

(สำหรับนิสิตและบุคลากรทุกคน)หลักสูตรความร่วมมือทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยได้นำหลักสูตรพิเศษที่น่าสนใจจากสถาบันการเรียนรู้ต่างๆ มาให้นิสิตได้เลือกเรียนและพัฒนาตนเองผ่าน CHULA MOOC เพื่อเก็บสะสมผลการเรียนรู้ต่างๆไว้ในระบบ Chula Neuron 
 

เรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของเรา: What (Love) is in the air? (จุฬาฯ)

ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

รายวิชาเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของเรา: what (Love) is in the air? จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญเพราะปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ร้ายแรงขึ้นทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่แปลกประหลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่ร้อนขึ้น ฝนไม่ตกเกิดภาวะน้ำแห้งแล้ง และที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเมื่อต้นปีที่ผ่านมาประเทศไทยก็ประสบกับปัญหาเกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ซึ่งทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้รับผลกระทบโดยตรงทำให้รัฐบาลต้องประกาศหยุดเรียน สำหรับเนื้อหาวิชานี้จะกล่าวถึงความเชื่อมโยงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ภาวะโลกร้อน และมลพิษทางอากาศ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมตลอดจนแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

Intro to Data Analytics and Big Data รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

คณาจารย์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวฯ จุฬาฯ

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

รายวิชา Intro to Data Analytics and Big Data จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ Data Analytics หรือที่นิยมเรียนกันว่า DATA SCIENCE และ Big Data โดยจะเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างไร รวมถึงเทคนิคที่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ แม้กระทั่งขั้นตอนวิธีการทำงานหรือเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ทั้งนี้ผู้สอนได้รวบรวมกรณีศึกษามานำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูล Social Online รวมไปถึงข้อมูลในรูปแบบแผนที่ และสุดท้ายจะแนะนำการทำ workshop ด้วยโปรแกรม rapidminer

ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูล (จุฬาฯ)

รศ. ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

รายวิชา ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูล จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่อง วิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับนิสิต และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับความสำคัญในการเก็บข้อมูล ประเภทข้อมูล แนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูล รวมถึงกรณีตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนและนำไปใช้ได้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดนตรีคลาสสิกปริทรรศน์

คณาจารย์จากสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

รายวิชา ดนตรีคลาสสิกปริทรรศน์ (Introduction to Classical Music) จะมีเนื้อหาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญ รวมไปถึง องค์ประกอบของดนตรีคลาสสิก อีกทั้งยังได้รับความรู้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีแต่ละประเภท การรวมวง ดนตรีคลาสสิกในแต่ละยุค รวมถึงเพลงคลาสสิกที่ได้รับความนิยม หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ดนตรีคลาสสิก ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และสุดท้ายการฟังดนตรีคลาสสิกจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าเรารู้จักมารยาทในการฟังดนตรีคลาสสิก

สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming (จุฬาฯ)

รศ. ภญ. ดร.มะลิ วิโรจน์แสงทอง รศ. ภก. ดร.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์ รศ.สัตถาพร สิโรตมรัตน์ อ. ภก. ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน และอ. ดร.กรรณิกา ขันธศุภ

มีสุขภาวะที่ดี

รายวิชา สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน: Health in Global Warming จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง สาเหตุโลกร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่ระบาดของพาหะนำโรค เชื้อโรคที่มีผลจากภาวะโลกร้อน ปัญหาสุขภาพกับภาวะโลกร้อน และกาจัดการ ภาวะอาหารเป็นพิษ การสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต การจัดการด้านอารมณ์และจิตใจ การดูแลเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และสุขอนามัย และสุดท้ายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ และสารพิษตกค้าง

Beautiful Death

ศ. ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์

มีสุขภาวะที่ดี

วิชา Beautiful Death การตายอย่างมีคุณภาพ รายวิชานี้จะนำเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนมาทำความเข้าเรื่องการตาย การจัดการอารมณ์ของผู้ที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย การจัดการอารมณ์ของผู้ที่ต้องสูญเสีย และสามารถอธิบายแนวทางการจัดการกับอารมณ์ให้เรื่องความตายได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม รวมไปถึงวิธีการให้ผู้เรียนสามารถคิดอย่างมีวิจารญาณ มีทักษะการคิด แก้ปัญหา และมีทักษะการบริหารการจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม