มีสุขภาวะที่ดี

การบริหารพลังใจและพลังกายสไตล์ยุคดิจิทัล

ศ. ดร. นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์

  • มีสุขภาวะที่ดี
5.0
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 18 กรกฎาคม 2566

ที่ว่าง 440/5000

การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมโดยใช้โปรแกรม RDAD

รศ. ดร. พญ.ศิรินาถ ตงศิริ

  • มีสุขภาวะที่ดี
5.0
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 18 กรกฎาคม 2566

ผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง หลักสูตร "การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมด้วยโปรแกรม Reducing Disability in Alzheimer's Disease (RDAD)" เพื่อความเข้าใจอาการของโรค ความก้าวหน้าของโรคและการรักษา ภาพรวมและรายละเอียดของโปรแกรม RDAD การออกแบบการใช้โปรแกรม RDAD ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

ที่ว่าง 261/5000

แนวคิดและการสร้างเสริมสุขภาพ

ผศ. ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผศ. ดร.ศรัณญา เบญจกุล และผศ. ดร.ภรณี วัฒนสมบูรณ์

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.9
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 18 กรกฎาคม 2566

สุขภาพและแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพปัจจัยกำหนดสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพตามกฏบัตรออตตาวา การสร้างเสริมสุขภาพแบบ สสส. บทบาทและวิธีการทำงานแบบ สสส. โมเดลการสร้างเสริมสุขภาพแบบ สสส. (Thai Health Model) กรณีศึกษาเรียนรู้เชื่อมโยงประสบการณ์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผ่านกรณีศึกษา

ที่ว่าง 325/5000

การดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคลในยุค New Normal

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เติมเพชร สุขคณาภิบาล

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.8
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 24 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นพึงปรารถนาของทุกคน ในสถาการณ์ปัจจุบันที่การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น ข้อมูลหรือความรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ข้อมูลที่ได้รับมานั้นมีความหลากหลายและแตกต่างแหล่งที่มี ทั้งจากงานวิจัยและความเชื่อ ผู้รับข้อมูลข่าวสารมีวิธีการจัดการข้อมูลอย่างไร และเลือกที่จะนำไปปฏิบัติอย่างไร วิธีการดูแลสุขภาพของเราวิธีใดเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด กิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ผลต่อร่างกายและจิตใจ รูปแบบ, วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะของร่างกายด้วยประเภทการฝึกที่เหมาะสม การประเมินและออกแบบโปรแกรม รวมถึงติดตามความก้าวหน้าในการออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องตามความต้องการ และข้อจำกัดต่างๆ ตามขั้นตอนที่ถูกต้องและปลอดภัย พฤติกรรมการกินอาหาร และผลต่อสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ตลอดจนการเลือกสั่ง เลือกกินอาหารให้ดีต่อสุขภาพ สามารถวิเคราะห์และหาข้อมูลเกี่ยวโภชนาการจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ที่ว่าง 83/500

Aging Society and The Oral Health Care (จุฬาฯ)

ผศ. ทพญ. ดร.อรพินท์ โคมิน รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ทพ.สหพรหม นามะโน และทพ.ชานน สุวรรณประพิศ

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.9
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 3 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

รายวิชา Aging Society and The Oral Health Care จะนำเสนอเกี่ยวกับสภาวะการเข้าสู่ของสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ความสำคัญของการเตรียมตัวรับมือของของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในฐานะบุคคลากรที่ทำงานด้านสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสภาพจิตใจ ที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพองค์รวม การเปลี่ยนแปลงของสุขสภาวะในช่องปาก การตรวจและการดูแลรักษา ในเรื่องของการให้การรักษาจะกล่าวถึงเนื้อหาทางทันตกรรมด้านต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบปรับปรุงสถานที่พักอาศัย การเปลี่ยนแปลงที่ให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อให้ใช้งานได้ระยะยาว การอำนวยความสะดวกแก่สภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป

ที่ว่าง 69/5000
PROMOTION

Tips for managing stress & anxiety in daily life

คุณกุลปริยา ศิริพานิช

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.8
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 8 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

เคล็ดลับการจัดการความเครียด และเคล็ดลับการจัดการความวิตกกังวลในชีวิต

ที่ว่าง 924/5000

ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (จุฬาฯ)

รศ. ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.8
FREE
ลงทะเบียน :วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (How to make advertising that makes you feel good and not so stresssed in the society after Covid-19) เนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลกระทบของการโฆษณาที่มีต่อผู้คนและสังคม ผู้เรียนจะได้เข้าใจบทบาทของการโฆษณาต่อสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและนำเรื่องจรรยาบรรณ กฎระเบียบและความรับผิดชอบต่อสังคมของการโฆษณามาใช้ได้ในการเรียนและการทำงาน โดยคาดหวังให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทำการโฆษณาได้อย่างรู้สึกดี มีคุณธรรม และไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19

ที่ว่าง 115/5000

การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC (จุฬาฯ)

รศ. ภญ. ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง ศ. ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล ผศ. ภญ. ดร.ทักษิณา ชวนอาษา ผศ. ภญ. ดร.วิชชุดา ธนกิจเจริญพัฒน์ และ อ. ภญ.จีรภัทร์ ดวงฉวี

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.8
FREE
ลงทะเบียน :8 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

วิชา การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC จะกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร เทคนิคการตรวจอัตลักษณ์ของสมุนไพรในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร หลักการและเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี เทคนิคการแยกสารด้วย TLC ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค TLC/HPTLC การอ่านและแปลผลการทดสอบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประยุกต์ใช้การตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร หลักการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (method validation) สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC การค้นคว้าและการเลือกใช้แหล่งอ้างอิงในการวิเคราะห์สมุนไพร และหลักการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC โดยปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณที่ดีไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งนี้หากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้มีการเลือกนำสมุนไพรมาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการชำระล้างสารพิษออกจากร่างกาย ลดอาการอักเสบของผิวหนังลดรอยเหี่ยวย่น ทำให้ผิวขาวใส ดังนั้นหากมีการเรียนรู้ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้องและเหมาะสมเผยแพร่แก่ประชาชนที่สนใจเพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ว่าง 68/5000

3600204 Health Sexuality เพศศาสตร์สุขภาพ

1. ผศ.ดร.รัชนีกร อุปเสน 2. ผศ.ดร.สุนทรีภรณ์ มีพริ้ง 3. อ. ภาวิณี ซ้ายกลาง

  • มีสุขภาวะที่ดี
5.0
FREE
ลงทะเบียน :นิสิตจุฬาฯ ลงทะเบียนตามภาคการศึกษาที่จุฬาฯ กำหนด

เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อและวัฒนธรรมในเรื่องเพศ บทบาทหญิง ชาย กำเนิดของชีวิต การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศ ทฤษฎีเพศศาสตร์ ความเบี่ยงเบนและความผิดปกติ ทางเพศ และสามารถป้องกันตนเองจากโรคและปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และวางแผนชีวิตสมรสของตนได้

ที่ว่าง 50/500

รอบรู้ สู้มะเร็งเต้านม (จุฬาฯ)

รศ. พญ.สุกัญญา ศรีอัษฎาพร

  • มีสุขภาวะที่ดี
4.8
FREE
ลงทะเบียน :18 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

วิชา รอบรู้ สู้มะเร็งเต้านม เป็นวิชาที่จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคเต้านม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดยผู้เรียนสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้มาตรวจสอบร่างกายของตนเองเบื้องต้นว่า เราอยู่ในประเภทใดบ้าง มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ และเพื่อให้ผู้เรียนได้รับทราบแลมีความรู้ถึงขั้นตอนการตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย วิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยการให้ยา การฉายแสง หรือการใช้รังสีรักษา

ที่ว่าง 97/5000