ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (จุฬาฯ)
รศ. ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
หลักสูตร Chula MOOC
วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
10 บทเรียน
15 วีดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
Chula Neuorn
นิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (How to make advertising that makes you feel good and not so stresssed in the society after Covid-19) เนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลกระทบของการโฆษณาที่มีต่อผู้คนและสังคม ผู้เรียนจะได้เข้าใจบทบาทของการโฆษณาต่อสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและนำเรื่องจรรยาบรรณ กฎระเบียบและความรับผิดชอบต่อสังคมของการโฆษณามาใช้ได้ในการเรียนและการทำงาน โดยคาดหวังให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทำการโฆษณาได้อย่างรู้สึกดี มีคุณธรรม และไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของการโฆษณาต่อสังคม เศรษฐกิจ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ และนิสิตนักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
2. เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของการโฆษณาต่อสังคม เศรษฐกิจ มาจัดทำเป็นสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและง่ายต่อการนำไปใช้
3. เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของการโฆษณาต่อสังคม เศรษฐกิจ และกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณามารวบรวมอย่างเป็นระบบระเบียบและสามารถให้ผู้สนใจนำไปต่อยอดความคิดในการทำการตลาดหรือการทำงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้ในอนาคต
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
บทที่ 1 การสื่อสารการตลาดในโลกยุคปัจจุบัน
บทที่ 2 การสื่อสารการตลาดกับมุมมองในแง่บวกและลบ
บทที่ 3 การสื่อสารการตลาดกับมุมมองเศรษฐกิจ
บทที่ 4 การสื่อสารการตลาดกับวัฒนธรรม
บทที่ 5 การสื่อสารการตลาดกับการเหมารวม
บทที่ 6 การสื่อสารการตลาดกับเด็ก
บทที่ 7 การสื่อสารการตลาดกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
บทที่ 8 การสื่อสารการตลาดและการคุ้มครองผู้บริโภค
บทที่ 9 สิทธิ หน้าที่ของผู้บริโภค และจริยธรรมของนักการตลาด
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย