มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด: ตั้งไข่ไวยากรณ์ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
อ.มณฑิรา ดำรงมณี
รายวิชา มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด: ตั้งไข่ไวยากรณ์ จะมีเนื้อหาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง Parts of Speech สอนให้ผู้เรียนรู้หน้าที่ของคำชนิดต่างๆ แยกคำชนิดต่างๆ ได้ โดยดูจาก suffixes สามารถนำความรู้เบื้องต้นนี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และสามารถทำโจทย์ที่ทดสอบเรื่อง parts of speech ได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเติมคำ หรือ error identification
มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด: ไวยากรณ์พร้อมรบ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
อ.มณฑิรา ดำรงมณี
เนื้อหาที่ให้ความรู้ที่เน้นประเด็นไวยากรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้บ่อย รวมถึงเป็นกลุ่มที่มักพบเจอในข้อสอบ ดังนั้นจึงเน้นการสอนให้ผู้เรียนได้ทบทวนประเด็นไวยากรณ์จำเป็นที่เคยเรียนแล้ว ชี้ให้เห็นจุดที่มักพลาด รวมถึงให้ทำแบบฝึกหัดรูปแบบต่างๆ เพิ่มความพร้อมสู้ทุกสนามสอบ
วิทยาการคำนวณ: สำรวจหลักสูตรและก้าวแรก Coding (จุฬาฯ)
รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต
เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ การพัฒนาประเทศ การมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมและปลอดภัย รวมถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ได้ประโยชน์สูงสุดจึงเป็นทักษะที่มีคุณค่ามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นกำลังของประเทศในอนาคต สำหรับวิชาวิทยาการคำนวณ: สำรวจหลักสูตรและก้าวแรก Coding จะมีเนื้อหาจะมุ่งเน้นความรู้และทักษะทางวิทยาการคำนวณ ความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการพัฒนาตนเองในการเขียนโปรแกรมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง
ชีวิตและการทำงานของคนยุคดิจิตอล
คุณกฤษ ลิมปวุฒิวรานนท์
เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นฐานของสังคมการทำงานในปัจจุบัน เข้าใจในกฎหมายแรงงานพื้นฐาน รวมถึงข้อควรระวัง โครงสร้างองค์กรทั่วไป เข้าใจถึงโครงสร้างค่าตอบแทน และผลประโยชน์รูปแบบต่างๆ เรียนรู้ภาษีเงินได้ เบื้องต้น
คนรักสุนัข: Dog Lover (จุฬาฯ)
คณาจารย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชา คนรักสุนัข : Dog Lover เป็นวิชาที่เริ่มต้นจากคนที่รักสุนัขและลงท้ายด้วยความเข้าใจว่าจะต้อง ดูแลสุนัขอย่างไร โดยเนื้อหาวิชานี้เปรียบเสมือนคู่มือการเลี้ยงสุนัขเบื้องต้นเพราะว่าจะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับ วิธีการเลือกสุนัข การเข้าใจพฤติกรรมของสุนัข การดูแลสุขภาพเบื้องต้น การเลือกอาหาร การสังเกตอาการป่วย ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆ การคุมกำเนิด รวมถึงการดูแลสุนัขในช่วงอายุต่างๆ
Intro to Data Analytics and Big Data รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
คณาจารย์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวฯ จุฬาฯ
รายวิชา Intro to Data Analytics and Big Data จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ Data Analytics หรือที่นิยมเรียนกันว่า DATA SCIENCE และ Big Data โดยจะเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างไร รวมถึงเทคนิคที่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ แม้กระทั่งขั้นตอนวิธีการทำงานหรือเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ทั้งนี้ผู้สอนได้รวบรวมกรณีศึกษามานำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูล Social Online รวมไปถึงข้อมูลในรูปแบบแผนที่ และสุดท้ายจะแนะนำการทำ workshop ด้วยโปรแกรม rapidminer
ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูล (จุฬาฯ)
รศ. ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ
รายวิชา ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูล จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่อง วิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับนิสิต และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับความสำคัญในการเก็บข้อมูล ประเภทข้อมูล แนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูล รวมถึงกรณีตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนและนำไปใช้ได้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดนตรีคลาสสิกปริทรรศน์
คณาจารย์จากสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายวิชา ดนตรีคลาสสิกปริทรรศน์ (Introduction to Classical Music) จะมีเนื้อหาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญ รวมไปถึง องค์ประกอบของดนตรีคลาสสิก อีกทั้งยังได้รับความรู้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีแต่ละประเภท การรวมวง ดนตรีคลาสสิกในแต่ละยุค รวมถึงเพลงคลาสสิกที่ได้รับความนิยม หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ดนตรีคลาสสิก ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และสุดท้ายการฟังดนตรีคลาสสิกจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าเรารู้จักมารยาทในการฟังดนตรีคลาสสิก
2200330 พระไตรปิฎกกับวิถีชีวิต
อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (รศ. ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง)
ความสำคัญของพระไตรปิฎกที่มีต่อชีวิตและสังคม โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นมรดกธรรมอันเป็นรากฐานแห่งสันติสุขของชีวิตและสังคมทุกกาลสมัย วัฒนธรรมพระไตรปิฎกในสังคมไทย พระไตรปิฎกกับการปฏิบัติในชีวิตและสังคมปัจจุบัน
0298112 หลักการทั่วไปในการผลิตอาหารฮาลาล
ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ และ อ.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์
หลักพื้นฐานของอาหารฮาลาลกับวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา และเศรษฐกิจ หลักการทั่วไปว่าด้วยฮาลาลและหะรอมตามกฏอิสลาม ความสำคัญของมาตรฐาน การกำหนดมาตรฐาน การตรวจรับรองอาหาร ฮาลาลในระดับชาติและนานาชาติ วัตถุดิบและสารเคมีในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล หลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์ฮาลาล มาตรวิทยาและวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล การวิเคราะห์อันตรายด้านฮะรอม การควบคุมจุดวิกฤติ การมาตรฐานฮาลาล ตามมาตรฐานฮาลคิว การจัดการห่วงโซ่อุปทานฮาลาล และการประยุกต์ใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล