Giving Basic Presentations in English (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.จุฬาภรณ์ กองแก้ว ผศ.กรุณา นาผล และ อ.วรลัญจ์ กองพลพรหม
หลักสูตร Chula MOOC
4 เมษายน 2565 เป็นต้นไป
4 เมษายน 2565 เป็นต้นไป
9 บทเรียน
9 วีดีโอ
ไม่กำหนด
ไม่มี
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
Chula Mooc
นิสิตและบุคลากร จุฬาฯ
รายวิชาเรื่อง Giving Basic Presentations in English จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่องทักษะการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อสามารถเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ของการนำเสนอ รวมถึงได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาการนำเสนอ ขั้นตอนการเตรียมตัว การวางแผนการนำเสนอโดยมีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอที่ชัดเจน และองค์ประกอบต่าง ๆ ของการนำเสนอ เป็นต้น ทั้งยังให้ข้อมูลรายละเอียดด้านเทคนิคบางประการที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้เพื่อให้การนำเสนอของตนน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยมีการยกตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษที่น่าสนใจสำหรับส่วนต่างๆ ในการนำเสนอผลงานประกอบด้วย
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านการเตรียมตัวนำเสนอผลงาน และโครงสร้างของการนำเสนอผลงานเบื้องต้น
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านคำศัพท์และประโยคต่าง ๆ สำหรับใช้ในการนำเสนอผลงาน
3. เพื่อให้ผู้เรียนทราบเทคนิคในการทำให้การนำเสนอผลงานของตนน่าสนใจยิ่งขึ้น
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
เนื้อหาในรายวิชา Giving Basic Presentations in English ประกอบด้วย
EP 1 : Introduction – Presentation components
EP 2 : Story message – Make it interesting right from the start
P 3 : Story message – Make it well–organized in the body part
EP 4 : Story message – Make it memorable at the end
EP 5 : Verbal message – Stress in words and chunks in sentences
EP 6 : Verbal message – Speak with techniques
EP 7 : Visual message – Say it right on screen
EP 8 : Visual message – Language for graphs and charts
EP 9 : Conclusion
สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย