(สำหรับบุคคลทั่วไปและประชาคมจุฬาฯ) กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น Chulalongkorn University Values Integration Program หรือ CUVIP เน้นการพัฒนาความรู้ความคิด ทักษะและทัศนคติ ด้วยกิจกรรม และสาระความรู้ที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ ต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะนิสิตตามผลการเรียนรู้ทั้ง 9 ด้านส่งเสริมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ และรู้รอบอย่างอิสระเพื่อเติมเต็มคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย และศักยภาพของนิสิตเป็นรายบุคคล เป็นกิจกรรมเรียนล่วงหน้าสะสมหน่วยกิต หลักสูตรนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียน วิชา 0295103 LRNG LIFE การเรียนรู้เพื่อชีวิต สามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ในตามเงื่อนไขที่รายวิชากำหนด
การดำเนินโครงการให้ถึงผลลัพธ์ Geting to Outcomes (GTO)
ดร.บุษบงก์ วิเศษพลชัย
หลักสูตร “การดำเนินโครงการให้ถึงผลลัพธ์” หรือ “Getting to Outcomes” เป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ที่ต้องการจะทำให้โครงการที่เขียนไว้ในกระดาษไปสู่การปฏิบัติการจริงอย่างถึงผลลัพธ์ เพื่อยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพของการทำงาน โดยในหลักสูตรนี้จะเป็นการเรียนรู้สัมฤทธิศาสตร์ ศาสตร์แห่งการไปถึงซึ่งผลลัพธ์ที่เรียกว่า Getting to Outcomes หรือ GTO แบบพื้นฐาน ที่นอกจากจะทำให้ไปถึงผลลัพธ์ และผลกระทบที่ต้องการแล้ว ยังมีกระบวนการที่จะทำให้การเกิดขึ้นของผลลัพธ์นั้นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน GTO เป็นศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นแนวคิด ทฤษฎี ที่มีการเก็บข้อมูล และแปลผลอย่างเป็นระบบ
SDGs Experience ความรู้เบื้องต้นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คุณอเล็กซ์ เรนเดลล์
รู้ทันกลโกงหลอกลวงบนโลกออนไลน์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การสร้างและบริหารเครือข่าย
ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล
บริหารเครือข่ายอย่างไรเพื่อความสัมพันธ์ของเครือข่าย และสร้างควาเป็นหุ่นส่วน สำคัญในเส้นทางการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะกลยุทธ์ที่เหมาะกับเพื่อนร่วมทาง กลุ่มต่าง ๆ ทั้ง Strategic Partner และ Boundary Partner
การบริหารพลังใจและพลังกายสไตล์ยุคดิจิทัล
ศ. ดร. นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์
การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมโดยใช้โปรแกรม RDAD
รศ. ดร. พญ.ศิรินาถ ตงศิริ
ผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง หลักสูตร "การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมด้วยโปรแกรม Reducing Disability in Alzheimer's Disease (RDAD)" เพื่อความเข้าใจอาการของโรค ความก้าวหน้าของโรคและการรักษา ภาพรวมและรายละเอียดของโปรแกรม RDAD การออกแบบการใช้โปรแกรม RDAD ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
แนวคิดและการสร้างเสริมสุขภาพ
ผศ. ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผศ. ดร.ศรัณญา เบญจกุล และผศ. ดร.ภรณี วัฒนสมบูรณ์
สุขภาพและแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพปัจจัยกำหนดสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพตามกฏบัตรออตตาวา การสร้างเสริมสุขภาพแบบ สสส. บทบาทและวิธีการทำงานแบบ สสส. โมเดลการสร้างเสริมสุขภาพแบบ สสส. (Thai Health Model) กรณีศึกษาเรียนรู้เชื่อมโยงประสบการณ์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผ่านกรณีศึกษา
Tools & Tips for Fact-Checker
คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์
เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับลักษณะเนื้อหาและเนื้องานของ “นักตรวจสอบข้อเท็จจริง” หรือ FACT-CHECKER และ เข้าใจยิ่งขึ้นผ่านตัวอย่าง การตรวจสอบข้อเท็จจริง (FACT-CHECKING) และการผลิตสื่อ
พื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking 101)
นายพีรพล อนุตรโสตถิ์
ท่องโลกวัฒนธรรมป๊อป : จากคุณค่าเชิงสุนทรียะสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ
ผศ.เกตุชพรรณ์ คำพุฒ
Risk is All Around: บริหารจัดการชีวิตและองค์กรในยุคที่ความเสี่ยงอยู่รายล้อม
ดร.อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง
การดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคลในยุค New Normal
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เติมเพชร สุขคณาภิบาล
ขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นพึงปรารถนาของทุกคน ในสถาการณ์ปัจจุบันที่การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น ข้อมูลหรือความรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ข้อมูลที่ได้รับมานั้นมีความหลากหลายและแตกต่างแหล่งที่มี ทั้งจากงานวิจัยและความเชื่อ ผู้รับข้อมูลข่าวสารมีวิธีการจัดการข้อมูลอย่างไร และเลือกที่จะนำไปปฏิบัติอย่างไร วิธีการดูแลสุขภาพของเราวิธีใดเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด กิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ผลต่อร่างกายและจิตใจ รูปแบบ, วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะของร่างกายด้วยประเภทการฝึกที่เหมาะสม การประเมินและออกแบบโปรแกรม รวมถึงติดตามความก้าวหน้าในการออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องตามความต้องการ และข้อจำกัดต่างๆ ตามขั้นตอนที่ถูกต้องและปลอดภัย พฤติกรรมการกินอาหาร และผลต่อสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ตลอดจนการเลือกสั่ง เลือกกินอาหารให้ดีต่อสุขภาพ สามารถวิเคราะห์และหาข้อมูลเกี่ยวโภชนาการจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน