Exploring Mixed Realities
นายนพดล รัตนวิเศษรัตน์
ทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) , Augmented Reality (AR), Virtual reality (VR) รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งานและประโยชน์ของ MR, AR, VR ซึ่งจะต่อยอดไปสู่คอนเซปของ Digital twins, Metaverse ที่เป็นการใช้งานผสมผสานหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกันรวมไปถึงการทำงานร่วมกันบนโลก Metaverse หรือการใช้งานเทคโนโลยี MR ในการทำงานร่วมกันและปิดท้ายด้วยการทดลองสร้างวัตถุ 3D
Learn Python: Language Basics and Fundamental Data Processing (จุฬาฯ)
รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต, รศ. ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ, รศ.ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์, อาจารย์ชินวิทย์ ชลิดาพงศ์
เรียนภาษา Python ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้เรียนแม้จะไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเขียนโปรแกรมบน Jupyter Notebook เพื่อประมวลผลข้อมูลในบริบทต่าง ๆ ได้ ผู้เรียนจะได้ทำความเข้าใจประเภทของข้อมูลและการประมวลผลที่ถูกต้อง ผนวกกับการควบคุมผังการทำงานของโปรแกรม การเรียกใช้งานไลบรารีต่าง ๆ เพื่อสร้างโปรแกรมประยุกต์อย่างง่าย ๆ ได้ รวมถึงได้รับพื้นฐานการออกแบบและเขียนโปรแกรม Python ให้สามารถใช้งานซ้ำได้อย่างคุ้มค่าผ่านการใช้ฟังก์ชันและโมดูล หลังจากผู้เรียนจบรายวิชานี้ ผู้เรียนจะมีความพร้อมในการเรียนรู้รายวิชาต่อไปในซีรีส์คอร์สออนไลน์ "เรียนไพธอน" จาก Chula MOOC นี้ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้เเนื้อหาที่ครอบคลุมการใช้ไลบรารี NumPy ที่เป็นที่นิยมในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) ด้วย Matplotlib ต่อไป
การเจรจาต่อรองในเชิงธุรกิจ (จุฬาฯ)
ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง ประเภทของการเจรจาต่อรอง หลักการจัดการความตึงเครียดระหว่างการเจรจาต่อรอง หลักการฟังเชิงรุก (Active listening) ข้อควรระวังในเจรจาต่อรอง กระบวนการเจรจาต่อรอง เช่น การจัดลำดับการเจรจาต่อรอง การเตรียมการเจรจาต่อรอง จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรอง การบรรลุเป้าหมายของการเจรจาต่อรอง การทำสัญญาและข้อตกลง เทคนิคการจัดการกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจราจาต่อรอง การสร้างเงื่อนไข: Anchoring, Overconfidence, Framing, Availability การสร้างเงื่อนไข: Escalation, Reciprocation, Contrast การจัดการความขัดแย้งในระหว่างการเจราจาต่อรอง
หลักการพื้นฐานทางกฎหมายทั่วไป รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
รศ.มานิตย์ จุมปา
รายวิชา หลักการพื้นฐานทางกฎหมายทั่วไป จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและกฎเกณฑ์ความประพฤติ ความหมายและลักษณะของกฎหมาย ที่มาของกฎหมาย ศักดิ์ของกฎหมาย ขอบเขตการใช้กฎหมาย การตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย และประเภทของกฎหมาย
สร้างสรรค์โลกใหม่ด้วยวิศวกรรม (Engineering My World)
รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต ผศ. ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร ผศ. ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ รศ. ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ และ รศ. ดร.เสวกชัย อร่ามวงศ์
ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการทำงาน และประสบการณ์การทำงานเพื่อแก้ปัญหาในสังคมแบบวิศวกรผ่านขั้นตอน Conceive – Design – Implement – Operate, ความรู้เกี่ยวกับสาขาต่าง ๆ ของศาสตร์ทางวิศวกรรมและประเภทปัญหาในสังคมที่เกี่ยวข้อกับศาสตร์นั้น ๆ, การประยุกต์ใช้กระบวนการแก้ปัญหาและแนวคิดทางวิศวกรรม
การสื่อสารในเชิงธุรกิจ (จุฬาฯ)
ศ. ดร.กิตติคุณ ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ และ อ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ในเชิงธุรกิจ ลักษณะขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะหลักในการโน้มน้าวใจและการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร เช่น ผู้บริโภค เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอวัจนภาษาต่างๆ อาทิ การแต่งกาย ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง เป็นต้น
ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (จุฬาฯ)
รศ. ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (How to make advertising that makes you feel good and not so stresssed in the society after Covid-19) เนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลกระทบของการโฆษณาที่มีต่อผู้คนและสังคม ผู้เรียนจะได้เข้าใจบทบาทของการโฆษณาต่อสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและนำเรื่องจรรยาบรรณ กฎระเบียบและความรับผิดชอบต่อสังคมของการโฆษณามาใช้ได้ในการเรียนและการทำงาน โดยคาดหวังให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทำการโฆษณาได้อย่างรู้สึกดี มีคุณธรรม และไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19
Attacking the Real World with Python (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.สุกรี สินธุภิญโญ
การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน (Python) เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจในการทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลภาพ ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง ฯลฯ ประกอบกับ ภาษา python เป็นภาษาที่ไม่มีโครงสร้างซับซ้อน สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับทั้งผู้ที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรม หรือผู้ที่มีทักษะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่นๆอยู่แล้วและต้องการเปลี่ยนมาใช้ภาษา python ดังนั้นการสอนเขียนโปรแกรมภาษา python จึงเหมาะกับการสร้างเป็นคอร์สเรียนออนไลน์ นำไปปรับใช้ เพื่อสร้างเป็นโครงการย่อย ๆ ที่สามารถนำไปใช้งานจริงได้ ในหลากหลายการประยุกต์ใช้
Universal Design (UD): การออกแบบเพื่อทุกคน (จุฬาฯ)
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ รศ.ภาวดี อังศุสิงห์ และผศ.กิตติอร ศิริสุข
การออกแบบเพื่อทุกคนเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถใช้งานได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านร่างกายและอายุ สำหรับรายละเอียดเนื้อหาที่จะกล่าวถึงในรายวิชานี้จะบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมา และความสำคัญของการออกแบบเพื่อทุกคน หลักของการออกแบบ เกณฑ์การออกแบบ การนำหลักการ UD ไปประยุกต์ใช้กับสถาปัตย์ การออกแบบ UD นี้ไม่ใช่เพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุ เท่านั้น การออกแบบดังกล่าวยังเหมาะสมกับคนท้อง เด็ก คนป่วย ฯลฯ อีกด้วย
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อ. ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล และ อ. ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
วิชากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ จะมีเนื้อหาทั้งหมด 10 บท จะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐทราบและเข้าใจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทักษะที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาเมื่อเรียนวิชานี้ คือ ผู้เรียนในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะตระหนักรู้ มีความรู้และความเข้าใจและสามารถดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล