สื่อการเรียนวิชา GenEd Chula

(สำหรับนิสิตจุฬาฯที่ลงทะเบียนผ่าน Reg Chula) รายวิชาในหลักสูตรนี้ เป็นสื่อใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบ Blended Learning เรียนผสมผสานทั้งในห้องเรียนและเรียนออนไลน์เรียนรู้ด้วยตนเองวยตนเองใน CUNeuron ตามที่หลักสูตรและรายวิชากำหนด

Critical Thinking for Business (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.เดชา เดชะวัฒนไพศาล

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

รายวิชา Critical Thinking for Business จะเป็นการศึกษาเรื่องกระบวนการคิด ตั้งแต่เรื่องกรอบความคิดเดิม (Paradigm) วิธีการตั้งคำถามแบบ Socratic Method และการคิดก่อนคิด (Thinking about Thinking) เพื่อคลายกรอบความคิดเดิม รวมถึงจะมีการนำเสนอเครื่องมือเพิ่มเติมในการฝึกคิด และกรณีศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการคิดในรูปแบบต่างๆ

กฎหมายกับธุรกิจ Law for Business : กฎหมายพื้นฐาน​สำหรับธุรกิจ (จุฬาฯ)

อ.ชนิสา งามอภิชน

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

ความรู้ทางด้านกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มีความสนใจที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองมากกว่าการเป็นลูกจ้าง หรือเป็นทั้งลูกจ้างมนุษย์เงินเดือนไปพร้อมกับการทำธุรกิจเล็กๆ ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ บน Social Network การทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ (Startup) หรือว่าการทำธุรกิจแบบ SMEs ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอยู่ ณ ตอนนี้ ดังนั้นกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจมีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นที่นิสิตและประชาชนทั่วไปควรรู้ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด: ไวยากรณ์พร้อมรบ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

อ.มณฑิรา ดำรงมณี

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

เนื้อหาที่ให้ความรู้ที่เน้นประเด็นไวยากรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้บ่อย รวมถึงเป็นกลุ่มที่มักพบเจอในข้อสอบ ดังนั้นจึงเน้นการสอนให้ผู้เรียนได้ทบทวนประเด็นไวยากรณ์จำเป็นที่เคยเรียนแล้ว ชี้ให้เห็นจุดที่มักพลาด รวมถึงให้ทำแบบฝึกหัดรูปแบบต่างๆ เพิ่มความพร้อมสู้ทุกสนามสอบ

วิทยาการคำนวณ: สำรวจหลักสูตรและก้าวแรก Coding (จุฬาฯ)

รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ การพัฒนาประเทศ การมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมและปลอดภัย รวมถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ได้ประโยชน์สูงสุดจึงเป็นทักษะที่มีคุณค่ามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นกำลังของประเทศในอนาคต สำหรับวิชาวิทยาการคำนวณ: สำรวจหลักสูตรและก้าวแรก Coding จะมีเนื้อหาจะมุ่งเน้นความรู้และทักษะทางวิทยาการคำนวณ ความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการพัฒนาตนเองในการเขียนโปรแกรมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง

ชีวิตและการทำงานของคนยุคดิจิตอล

คุณกฤษ ลิมปวุฒิวรานนท์

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นฐานของสังคมการทำงานในปัจจุบัน เข้าใจในกฎหมายแรงงานพื้นฐาน รวมถึงข้อควรระวัง โครงสร้างองค์กรทั่วไป เข้าใจถึงโครงสร้างค่าตอบแทน และผลประโยชน์รูปแบบต่างๆ เรียนรู้ภาษีเงินได้ เบื้องต้น

เปลี่ยนงานศิลป์ให้เป็นเงิน

คุณภรภัค อภิโชติดิลก

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

เรียนรู้เทคนิคการขายงานศิลปะทางเว็บไซต์ การสร้างรายได้จากงานศิลปะในรูปแบบออนไลน์

การจัดการอากาศเปลี่ยนแปลง

ดร.เวฬุกา รัตนวราหะ

การพัฒนาอย่างยั่งยืน


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทิศทางโลกและการบรรเทาผลกระทบ เป้าหมายการลดปัญหาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและการบริหารจัดการและแบ่งปันของ SCG

สร้างธุรกิจใหม่อย่างไรในยุคที่ใคร ๆ ก็เป็นผู้ประกอบการ

คุณวราพล โล่วรรธนะมาศ

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐาน

คุณวราพล โล่วรรธนะมาศ

มีสุขภาวะที่ดี

เรียนรู้หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างถูกวิธี

Convincing จิตวิทยาโน้มน้าวใจภายใน 10 วินาที

คุณเพลินพิศ วาราชนนท์

ความเป็นผู้นำ

เรียนรู้ศาสตร์และเทคนิคทางจิตวิทยาในการโน้มน้าวใจคน รู้จักตนเอง รู้จักกระบวนการโน้มน้าวอย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นเจ้าของรายการ Podcast ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

คุณสุภนิดา จันทร์มูล

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

รู้จัก Podcast เรียนรู้วิธีการสร้างรายได้จาก Podcast

มนุษย์กับนิเวศวิถีในบริบทโลกาภิวัฒน์

ร​ศ. ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

การอ่านวรรณกรรมและวัฒนธรรมสีเขียวเชิงวิพากษ์ วรรณกรรมกับสำนึกทางสังคมและนิเวศสำนึก บทบาทของวรรณกรรมในการอนุรักษ์และแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อม “ศาสตร์แห่งพระราชา”กับการพัฒนาที่ยั่งยืน