(สำหรับนิสิตจุฬาฯที่ลงทะเบียนผ่าน Reg Chula) รายวิชาในหลักสูตรนี้ เป็นสื่อใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบ Blended Learning เรียนผสมผสานทั้งในห้องเรียนและเรียนออนไลน์เรียนรู้ด้วยตนเองวยตนเองใน CUNeuron ตามที่หลักสูตรและรายวิชากำหนด
นาฏยกรรมสยาม ตอน “ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง” (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
วิชานาฏยกรรมสยาม ตอน “ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง” เป็นวิชาที่ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภท การดำรงชีวิตของนักแสดง องค์ประกอบของการแสดง เครื่องแต่งกาย ท่าร่ายรำ รวมไปถึงขั้นตอนและกระบวนการจัดแสดงลิเก เพื่อให้แก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย และร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ลูกหลานได้ศึกษา
วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (จุฬาฯ)
รศ. ดร.วินัย ดะห์ลัน ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ ดร.พรพิมล มะหะหมัด คุณอาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ คุณซูไนนี มาหะมะ และ คุณอิรพัน แวหะมะ
วิชา วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้น สำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จะนำเสนอเกี่ยวกับ ความสำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความเข้าใจฮาลาลและหะรอมในอิสลาม โครงสร้างพื้นฐานการรับรองฮาลาล วิทยาศาสตร์เพื่อการรับรองฮาลาล และมาตรฐานระบบบริหารเพื่อจัดเตรียมอาหารฮาลาล เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ชีวิตประจำวันต่อไป
ความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ (จุฬาฯ)
ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน
วิชาความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ ต้องการนำเสนอความรู้ความเข้าใจในความผกผันทางประชากร (Demographic Disruption) ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับประชากร และเป็นส่ิงที่จำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ที่จะนำข้อมูลความผกผันของประชากรมาใช้วางแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือผลกระทบต่าง ๆ ในอนาคต
ยาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ (จุฬาฯ)
ผศ. ภก. ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ, ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, อ.ภญ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง และ อ.ภก.บวรภัทร สุริยะปกรณ์
รายวิชายาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง ยา มีความสำคัญต่อบุคคลทุกเพศทุกวัย และเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้เพราะว่า การใช้ยา ผู้ที่จะใช้ต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง สำหรับวิชานี้จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาและคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษอย่างถูกวิธี ยาที่จะกล่าวถึงได้แก่ ยาที่ใช้สำหรับปาก ตา หู จมูก และทางทวาร หรือไม่ว่าจะเป็นยาที่ใช้สำหรับกลุ่ม เช่น ยาสำหรับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน (จุฬาฯ)
อ. ดร.กฤษณะ พันธุ์เพ็ง
วิชา การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับศิลปะการแสดงในระดับเบื้องต้น โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการแสดง การพัฒนาทักษะที่จำเป็น การฝึกฝนสำหรับนักแสดง การสร้างสรรค์ตัวละคร การวิเคราะห์ตัวละคร การซ้อมและสร้างฉากการแสดงอย่างสั้น โดยผู้เรียนจะได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการแสดงเดี่ยวของตัวเอง (Monologue) และได้บันทึกการแสดงผ่านกล้องถ่ายวิดีโอ การเรียนการสอนในวิชาจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันใน Facebook Group โดยผู้เรียนจะได้รับทักษะทางด้านการสื่อสารผ่านร่างกายและเสียงเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และลักษณะนิสัยของตัวละครที่เพิ่มมากขึ้น สามารถสื่อสารหลักการและทักษะพื้นฐานในการเป็นนักแสดงได้ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครและการแสดงได้อย่างมีหลักการและสร้างสรรค์
เศรษฐกิจเกษตร (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.วริพัสย์ เจียมปัญญารัช
วิชาเศรษฐกิจเกษตร จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับการเกษตร โครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรของไทย การผลิต การจัดการผลผลิต การตลาดสินค้าการเกษตร การวิเคราะห์การตลาด การจัดการสินค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบจำลองการผลิต ระบบอุปสงค์และอุปทาน ปัจจัยของราคาและปริมาณของสินค้า สหกรณ์การเกษตร สินเชื่อการเกษตร การจัดการสินค้าการเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้นเพื่อเป็นการแผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการการเกษตรให้แก่ นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพื่อใช้ประกอบการทำงาน
Introduction to Smart Grid (จุฬาฯ)
คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชา Introduction to smart Grid จะบรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับระบบโครงข่ายไฟ้ฟ้าสมาร์ทกริด เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักกับแนวคิดการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟ้ฟ้าสมาร์ท กริดในเบื้องต้น แรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนา เปรียบเทียบความแตกต่างหลักระหว่างระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบเดิมกับแบบสมาร์ทกริด เข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของสมาร์ทกริด พร้อมทั้งการยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
การสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมสร้างภาพสามมิติ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายวิชา การสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมสร้างภาพสามมิติ จะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้างชิ้นงานต่างๆ เช่น สื่อการสอน ชิ้นส่วนทางวิศวกรรม เป็นต้น รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ
มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด : ศัพท์ทะลุ อ่านทะลวง รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
อ.มณฑิรา ดำรงมณี
รายวิชา มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด : ศัพท์ทะลุ อ่านทะลวง จะสอนเกี่ยวกับรากศัพท์และ Prefixes ที่พบบ่อย รวมถึงเทคนิคการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท เทคนิคการอ่าน และคำถามที่พบบ่อยในข้อสอบ Reading Comprehension
Giving Basic Presentations in English (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.จุฬาภรณ์ กองแก้ว ผศ.กรุณา นาผล และ อ.วรลัญจ์ กองพลพรหม
รายวิชาเรื่อง Giving Basic Presentations in English จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่องทักษะการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อสามารถเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ของการนำเสนอ รวมถึงได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาการนำเสนอ ขั้นตอนการเตรียมตัว การวางแผนการนำเสนอโดยมีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอที่ชัดเจน และองค์ประกอบต่าง ๆ ของการนำเสนอ เป็นต้น ทั้งยังให้ข้อมูลรายละเอียดด้านเทคนิคบางประการที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้เพื่อให้การนำเสนอของตนน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยมีการยกตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษที่น่าสนใจสำหรับส่วนต่างๆ ในการนำเสนอผลงานประกอบด้วย
บทบาทการขนส่งต่อการพัฒนาเมือง
อ. ดร.ปัทมพร วงศ์วิริยะ
บทบาทการขนส่งต่อการพัฒนาเมือง แนวคิดเกี่ยวกับเมืองและการขนส่ง แนวทางการพัฒนาเมืองในมิติการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น
นาฎยกรรมสยาม: โขน (จุฬาฯ)
รศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
รายวิชา นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน จะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภทของโขน ตัวละคร องค์ประกอบ ประเภทหัวโขน ท่าทางในการแสดง และขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขนในกลุ่มนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย