สื่อการเรียนวิชา GenEd Chula

(สำหรับนิสิตจุฬาฯที่ลงทะเบียนผ่าน Reg Chula) รายวิชาในหลักสูตรนี้ เป็นสื่อใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบ Blended Learning เรียนผสมผสานทั้งในห้องเรียนและเรียนออนไลน์เรียนรู้ด้วยตนเองวยตนเองใน CUNeuron ตามที่หลักสูตรและรายวิชากำหนด

Kanji Cool Kit: คู่คิด คันจิ (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.อัษฎายุทธ ชูศรี

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

วิชา Kanji Cool Kit: คันจิ คู่คิด จะมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บทเรียน โดยสอนเกี่ยวกับ หลักการของคันจิ ไม่ว่าจะเป็น การเขียน การอ่าน การคาดเดาความหมาย เคล็ดลับในการจดจำอักษรคันจิ รวมไปถึงอักษรคันจิเบื้องต้น 42 ตัว ความรู้เรื่องคันจิเบื้องต้นที่สำคัญและพบเห็นในชีวิตประจำวัน

บอนสียอดฮิตติดเทรนด์

ผศ.เตือนใจ โก้สกุล

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

ความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ (จุฬาฯ)

ทีมคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะทันตแพทยศาสตร์

มีสุขภาวะที่ดี

วิชาความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในแง่ของประชาชนทั่วไปที่ควรรู้และ ตระหนัก บทบาทความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดอุบัติการณ์และผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ให้ เหลือน้อยที่สุดรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อการคืนสภาพให้มากที่สุดจากเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์และความปลอดภัยของผู้ป่วย ความเข้าใจระบบและผลของความซับซ้อน ในการดูแลผู้ป่วย การเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของทีม การเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อการป้องกันอันตราย ความเข้าใจและการจัดการกับความเสี่ยงทางคลินิก การใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อปรับปรุงการดูแล การมี ส่วนร่วมของผู้ป่วยและผู้ดูแลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและหัตถการที่รุกล้ำ และความปลอดภัยในการใช้ยา

Computational Thinking and My First Code (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.จารุโลจน์ จงสถิตย์วัฒนา และ ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

Thinking Like a Programmer เป็นชุดวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฝึกและพัฒนาแนวความคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชุดวิชานี้ผู้เรียนจะฝึกการลำดับขั้นตอนรวมถึงการออกแบผังงานในการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมองและทำความเข้าใจกับปัญหาโดยการย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการโดยใช้การเขียนโปรแกรมภาษา Python เป็นเครื่องมือสื่อกลางการเรียนรู้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถฝึกทักษะดังกล่าวผ่านทางตัวอย่างและแบบฝึกหัดในบทเรียน รวมถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานหรือในชีวิตประจำวันได้

Coding for Beginners (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.จารุโลจน์ จงสถิตย์วัฒนา และ ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

Thinking Like a Programmer เป็นชุดวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฝึกและพัฒนาแนวความคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ในชุดวิชานี้ผู้เรียนจะฝึกการลำดับขั้นตอนรวมถึงการออกแบผังงานในการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมองและทำความเข้าใจกับปัญหาโดยการย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการโดยใช้การเขียนโปรแกรมภาษา Python เป็นเครื่องมือสื่อกลางการเรียนรู้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถฝึกทักษะดังกล่าวผ่านทางตัวอย่างและแบบฝึกหัดในบทเรียน รวมถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานหรือในชีวิตประจำวันได้

การทำความเข้าใจงบการเงิน (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

รายวิชาการทำความเข้าใจงบการเงิน จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ประโยชน์ของแต่ละงบการเงิน ความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด

การเล่าเรื่องและการออกแบบสื่อ (จุฬาฯ)

ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา และ อ.ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่อง การจัดทำโครงสร้าง องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคการอุปมาและการเปรียบเทียบ ตลอดจนการออกแบบสื่อ เช่น สไลด์นำเสนอ ข่าวประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น สื่อสังคม (Social media) เหตุการณ์พิเศษ (Special Event) เพื่อให้สามารถเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและบริบท

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

ความเป็นผู้นำ

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Fostering Self-Directed Learning) เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการมโนทัศน์ หลักการ เป้าหมาย และความเป็นมาของการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในโลกยุคใหม่ คุณลักษณะของผู้เรียนผู้ใหญ่ กระบวนการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เทคนิค วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ บทบาทของผู้สอนในฐานะผู้นำการส่งเสริมการเรียนรู้

นาฏยกรรมสยาม ตอน “ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง” (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์

วัฒนธรรมความเป็นไทย

วิชานาฏยกรรมสยาม ตอน “ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง” เป็นวิชาที่ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภท การดำรงชีวิตของนักแสดง องค์ประกอบของการแสดง เครื่องแต่งกาย ท่าร่ายรำ รวมไปถึงขั้นตอนและกระบวนการจัดแสดงลิเก เพื่อให้แก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย และร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ลูกหลานได้ศึกษา

วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (จุฬาฯ)

รศ. ดร.วินัย ดะห์ลัน ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ ดร.พรพิมล มะหะหมัด คุณอาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ คุณซูไนนี มาหะมะ และ คุณอิรพัน แวหะมะ

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้น สำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จะนำเสนอเกี่ยวกับ ความสำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความเข้าใจฮาลาลและหะรอมในอิสลาม โครงสร้างพื้นฐานการรับรองฮาลาล วิทยาศาสตร์เพื่อการรับรองฮาลาล และมาตรฐานระบบบริหารเพื่อจัดเตรียมอาหารฮาลาล เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ชีวิตประจำวันต่อไป

ความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ (จุฬาฯ)

ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

วิชาความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ ต้องการนำเสนอความรู้ความเข้าใจในความผกผันทางประชากร (Demographic Disruption) ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับประชากร และเป็นส่ิงที่จำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ที่จะนำข้อมูลความผกผันของประชากรมาใช้วางแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือผลกระทบต่าง ๆ ในอนาคต

ยาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ (จุฬาฯ)

ผศ. ภก. ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ, ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, อ.ภญ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง และ อ.ภก.บวรภัทร สุริยะปกรณ์

มีสุขภาวะที่ดี

รายวิชายาน่ารู้: การใช้ยาเทคนิคพิเศษ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่าความรู้เรื่อง ยา มีความสำคัญต่อบุคคลทุกเพศทุกวัย และเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้เพราะว่า การใช้ยา ผู้ที่จะใช้ต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง สำหรับวิชานี้จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาและคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษอย่างถูกวิธี ยาที่จะกล่าวถึงได้แก่ ยาที่ใช้สำหรับปาก ตา หู จมูก และทางทวาร หรือไม่ว่าจะเป็นยาที่ใช้สำหรับกลุ่ม เช่น ยาสำหรับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย