การเจรจาต่อรองในเชิงธุรกิจ (จุฬาฯ)
ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง ประเภทของการเจรจาต่อรอง หลักการจัดการความตึงเครียดระหว่างการเจรจาต่อรอง หลักการฟังเชิงรุก (Active listening) ข้อควรระวังในเจรจาต่อรอง กระบวนการเจรจาต่อรอง เช่น การจัดลำดับการเจรจาต่อรอง การเตรียมการเจรจาต่อรอง จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรอง การบรรลุเป้าหมายของการเจรจาต่อรอง การทำสัญญาและข้อตกลง เทคนิคการจัดการกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจราจาต่อรอง การสร้างเงื่อนไข: Anchoring, Overconfidence, Framing, Availability การสร้างเงื่อนไข: Escalation, Reciprocation, Contrast การจัดการความขัดแย้งในระหว่างการเจราจาต่อรอง
การสื่อสารในเชิงธุรกิจ (จุฬาฯ)
ศ. ดร.กิตติคุณ ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ และ อ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ในเชิงธุรกิจ ลักษณะขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะหลักในการโน้มน้าวใจและการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร เช่น ผู้บริโภค เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอวัจนภาษาต่างๆ อาทิ การแต่งกาย ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง เป็นต้น
Principles of Innovation and Entrepreneurship: VIE รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
ศ. น.สพ. ดร.มงคล เตชะกำพุ รศ. ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ดร.รณกร ไวยวุฒิ คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติและ คุณธนยศ เอื้อวิศาลวรวงศ์
วิชา Principles of innovation and entrepreneurship จะเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรมทางสัตวแพทย์ ความสำคัญของนวัตกรรม แนวคิด และประเภทนวัตกรรม ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม การบริการงานธุรกิจและการจัดการการเงินสำหรับสัตวแพทย์ โดยทีมผู้สอนมีแนวคิดว่า สัตวแพทย์ควรได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ให้ทันยุคสมัย การเป็นสัตวแพทย์นวัตกรนั้น จะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน มีการสร้างนิเวศน์ในการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถต่อยอด นำไปใช้ประโยชน์ และสร้างคุณค่า ไม่ว่าจะในด้านธุรกิจหรือคุณค่าต่อเกษตรกรได้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม
ทำอย่างไรให้สินค้า Go Inter ขายได้ขายดี และดังข้ามโลก (จุฬาฯ)
รศ. ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
รายวิชา ทำอย่างไรให้สินค้า go inter... ขายได้ขายดี และดังข้ามโลก จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับหัวใจของการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ โดยจะนำเสนอแนวคิดต่างๆ และเทคนิคสั้นๆ ง่ายๆ ที่จะทำให้ธุรกิจการค้าสามารถส่งออกสินค้าไปขายทั่วโลก และจะเป็นการค้าที่ยั่งยืนต่อไป
ทรัพย์สินทางปัญญากับธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรม (จุฬาฯ)
รศ. ดร.ดวงหทัย เพ็ญตระกูล
วิชาทรัพย์สินทางปัญญากับธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรม เนื้อหาจะกล่าวถึง ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรม การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ คิดค้น และสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ และการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร มาเรียนรู้ความหมายของคำว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกต้อง อะไรบ้างที่จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญา อายุความคุ้มครองนานเท่าใด ความรู้เรื่องสิทธิบัตร ประเภทสิทธิบัตร เรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการนำเสนอความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับ ธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรมให้แก่บุคลากร นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป รวมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานตามวิชาชีพ และประโยชน์ด้านอื่นๆ
บอนสียอดฮิตติดเทรนด์
ผศ.เตือนใจ โก้สกุล
เรียนรู้ข้อมูลเเกี่ยวกับบอนสีในทุกด้าน การปลูก การขยายพันธุ์ ผสมพันธุ์ การซื้อขาย การดูบอนสี การประกวด การตลาด และประมูลบอนสี ผู้เรียนจะได้รู้กระบวนการผลิต และการขายบอนสีแบบครบวงจร
การทำความเข้าใจงบการเงิน (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์
รายวิชาการทำความเข้าใจงบการเงิน จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ประโยชน์ของแต่ละงบการเงิน ความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด
ความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ (จุฬาฯ)
ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน
วิชาความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ ต้องการนำเสนอความรู้ความเข้าใจในความผกผันทางประชากร (Demographic Disruption) ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับประชากร และเป็นส่ิงที่จำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ที่จะนำข้อมูลความผกผันของประชากรมาใช้วางแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือผลกระทบต่าง ๆ ในอนาคต
เคล็ดวิชาค้นคว้า กระบวนท่านำเสนอผลงาน รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)
คณาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคล็ดวิชาค้นคว้า กระบวนท่านำเสนอผลงาน จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับทักษะการค้นคว้า รู้จักวิธีการค้นคว้าวิจัย การเข้าถึงแห่งสารสนเทศวิชาการได้ สามารถประเมินสารสนเทศ และเรียบเรียงผลงานทางวิชาการโดยสอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณผู้วิจัย และการอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
Service Design Innovation (จุฬาฯ)
ผศ. ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา
เนื่องจากงานด้านการบริการจะเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามจากทุกคนโดยที่ทุกคนอาจจะไม่รู้ว่างานด้านการบริการนั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่สิ่งที่ไม่ค่อยซับซ้อน เช่น การซื้อขาย บริการด้านการบันเทิง และบริการด้านวิชาชีพต่าง ๆ และที่ซับซ้อนขึ้นมา เช่น การเงิน การโรงแรม การเดินทาง และที่ซับซ้อนมาก ๆ คือการบริการด้านสาธารณสุข การบริการทางด้านการศึกษา และการบริการของภาครัฐ ดังนั้นวิชา Service Design Innovation จะมุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการออกแบบบริการใหม่ โดยนำการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาใช้ในการระบุโอกาสการสร้างนวัตกรรม พัฒนา และทดสอบแนวคิดบริการใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับการทำงานของแต่ละคน