การสื่อสารในเชิงธุรกิจ (จุฬาฯ)

ศ. ดร.กิตติคุณ ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ และ อ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์

หลักสูตร Chula MOOC

  • นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ
  • รหัสวิชา: CHULAMOOC3821.CU01
  • หน่วยกิต :

FREE
ที่ว่าง 1212/5000
  • ลงทะเบียน

    วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

  • เวลาเรียน

    วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

  • เนื้อหา

    3 บทเรียน

  • วิดีโอ

    15 วีดีโอ

  • ระยะเวลา

    ไม่กำหนด

  • เอกสาร

    ไม่มี

  • เกณฑ์เรียนจบ

    ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป

  • ประกาศนียบัตร

    Chula Mooc

  • กลุ่มเป้าหมาย

    นิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แนะนำรายวิชา
'
เกี่ยวกับรายวิชา

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ในเชิงธุรกิจ ลักษณะขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะหลักในการโน้มน้าวใจและการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร เช่น ผู้บริโภค เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอวัจนภาษาต่างๆ อาทิ การแต่งกาย ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง เป็นต้น

วัตถุประสงค์และสิ่งที่ได้จากเรียน

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายลักษณะการสื่อสารในเชิงธุรกิจ ลักษณะขององค์กรธุรกิจ

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการโน้มน้าวใจและการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายของอวัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเชิงธุรกิจ

    4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้กลวิธีในการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวได้อย่างเหมาะสมในเชิงธุรกิจ

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

    2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

เนื้อหาหลักสูตร

    CHAPTER 1 : การสื่อสารในเชิงธุรกิจ 

    1.1 การสื่อสารของมนุษย์ 

    1.2 ความน่าเชื่อถือ

    1.3 บุคลิกภาพของนักสื่อสาร

    1.4 ความสามารถด้านการสื่อสารเชิงธุรกิจ

    1.5 การลดความขัดแย้ง

    1.6 ลักษณะของการสื่อสารในองค์กรธุรกิจ

    CHAPTER 2 : หลักการโน้มน้าวใจ

    2.1 หลักการโน้มน้าวใจ

    2.2 ช่องทางการสื่อสารโน้มน้าวใจ

    2.3 หลักการโน้มน้าวใจเชิงเหตุผล

    2.4 หลักการโน้มน้าวใจเชิงอารมณ์

    2.5 กลวิธีการโน้มน้าวใจ

    CHAPTER 3 : อวัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเชิงธุรกิจ

    3.1 ประเภทของอวัจนภาษา

    3.2 การใช้อวัจนภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์ผู้สอน
    • อ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์

    ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ