สื่อการเรียนวิชา GenEd Chula

(สำหรับนิสิตจุฬาฯที่ลงทะเบียนผ่าน Reg Chula) รายวิชาในหลักสูตรนี้ เป็นสื่อใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบ Blended Learning เรียนผสมผสานทั้งในห้องเรียนและเรียนออนไลน์เรียนรู้ด้วยตนเองวยตนเองใน CUNeuron ตามที่หลักสูตรและรายวิชากำหนด

PROMOTION

Exploring Mixed Realities

นายนพดล รัตนวิเศษรัตน์

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

ทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) , Augmented Reality (AR), Virtual reality (VR) รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งานและประโยชน์ของ MR, AR, VR ซึ่งจะต่อยอดไปสู่คอนเซปของ Digital twins, Metaverse ที่เป็นการใช้งานผสมผสานหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกันรวมไปถึงการทำงานร่วมกันบนโลก Metaverse หรือการใช้งานเทคโนโลยี MR ในการทำงานร่วมกันและปิดท้ายด้วยการทดลองสร้างวัตถุ 3D

Learn Python: Language Basics and Fundamental Data Processing (จุฬาฯ)

รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต, รศ. ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ, รศ.ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์, อาจารย์ชินวิทย์ ชลิดาพงศ์

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

เรียนภาษา Python ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้เรียนแม้จะไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเขียนโปรแกรมบน Jupyter Notebook เพื่อประมวลผลข้อมูลในบริบทต่าง ๆ ได้ ผู้เรียนจะได้ทำความเข้าใจประเภทของข้อมูลและการประมวลผลที่ถูกต้อง ผนวกกับการควบคุมผังการทำงานของโปรแกรม การเรียกใช้งานไลบรารีต่าง ๆ เพื่อสร้างโปรแกรมประยุกต์อย่างง่าย ๆ ได้ รวมถึงได้รับพื้นฐานการออกแบบและเขียนโปรแกรม Python ให้สามารถใช้งานซ้ำได้อย่างคุ้มค่าผ่านการใช้ฟังก์ชันและโมดูล
หลังจากผู้เรียนจบรายวิชานี้ ผู้เรียนจะมีความพร้อมในการเรียนรู้รายวิชาต่อไปในซีรีส์คอร์สออนไลน์ "เรียนไพธอน" จาก Chula MOOC นี้ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้เเนื้อหาที่ครอบคลุมการใช้ไลบรารี NumPy ที่เป็นที่นิยมในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) ด้วย Matplotlib ต่อไป

การเจรจาต่อรองในเชิงธุรกิจ (จุฬาฯ)

ผศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง ประเภทของการเจรจาต่อรอง หลักการจัดการความตึงเครียดระหว่างการเจรจาต่อรอง หลักการฟังเชิงรุก (Active listening) ข้อควรระวังในเจรจาต่อรอง กระบวนการเจรจาต่อรอง เช่น การจัดลำดับการเจรจาต่อรอง การเตรียมการเจรจาต่อรอง จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรอง การบรรลุเป้าหมายของการเจรจาต่อรอง การทำสัญญาและข้อตกลง เทคนิคการจัดการกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจราจาต่อรอง การสร้างเงื่อนไข: Anchoring, Overconfidence, Framing, Availability การสร้างเงื่อนไข: Escalation, Reciprocation, Contrast การจัดการความขัดแย้งในระหว่างการเจราจาต่อรอง

หลักการพื้นฐานทางกฎหมายทั่วไป รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

รศ.มานิตย์ จุมปา

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

รายวิชา หลักการพื้นฐานทางกฎหมายทั่วไป จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและกฎเกณฑ์ความประพฤติ ความหมายและลักษณะของกฎหมาย ที่มาของกฎหมาย ศักดิ์ของกฎหมาย ขอบเขตการใช้กฎหมาย การตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย และประเภทของกฎหมาย

PROMOTION

สร้างสรรค์โลกใหม่ด้วยวิศวกรรม (Engineering My World)

รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต ผศ. ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร ผศ. ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ รศ. ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ และ รศ. ดร.เสวกชัย อร่ามวงศ์

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการทำงาน และประสบการณ์การทำงานเพื่อแก้ปัญหาในสังคมแบบวิศวกรผ่านขั้นตอน Conceive – Design – Implement – Operate, ความรู้เกี่ยวกับสาขาต่าง ๆ ของศาสตร์ทางวิศวกรรมและประเภทปัญหาในสังคมที่เกี่ยวข้อกับศาสตร์นั้น ๆ, การประยุกต์ใช้กระบวนการแก้ปัญหาและแนวคิดทางวิศวกรรม

การสื่อสารในเชิงธุรกิจ (จุฬาฯ)

ศ. ดร.กิตติคุณ ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ และ อ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ในเชิงธุรกิจ ลักษณะขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะหลักในการโน้มน้าวใจและการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร เช่น ผู้บริโภค เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอวัจนภาษาต่างๆ อาทิ การแต่งกาย ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง เป็นต้น

ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (จุฬาฯ)

รศ. ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา

มีสุขภาวะที่ดี

ทำอย่างไรให้โฆษณาได้ดีต่อใจและไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19 (How to make advertising that makes you feel good and not so stresssed in the society after Covid-19) เนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลกระทบของการโฆษณาที่มีต่อผู้คนและสังคม ผู้เรียนจะได้เข้าใจบทบาทของการโฆษณาต่อสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและนำเรื่องจรรยาบรรณ กฎระเบียบและความรับผิดชอบต่อสังคมของการโฆษณามาใช้ได้ในการเรียนและการทำงาน โดยคาดหวังให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทำการโฆษณาได้อย่างรู้สึกดี มีคุณธรรม และไม่เครียดมากในสังคมหลังโควิด 19

Attacking the Real World with Python (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.สุกรี สินธุภิญโญ

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน (Python) เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจในการทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลภาพ ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง ฯลฯ ประกอบกับ ภาษา python เป็นภาษาที่ไม่มีโครงสร้างซับซ้อน สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับทั้งผู้ที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรม หรือผู้ที่มีทักษะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่นๆอยู่แล้วและต้องการเปลี่ยนมาใช้ภาษา python ดังนั้นการสอนเขียนโปรแกรมภาษา python จึงเหมาะกับการสร้างเป็นคอร์สเรียนออนไลน์ นำไปปรับใช้ เพื่อสร้างเป็นโครงการย่อย ๆ ที่สามารถนำไปใช้งานจริงได้ ในหลากหลายการประยุกต์ใช้

Universal Design (UD): การออกแบบเพื่อทุกคน (จุฬาฯ)

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ รศ.ภาวดี อังศุสิงห์ และผศ.กิตติอร ศิริสุข

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

การออกแบบเพื่อทุกคนเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถใช้งานได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านร่างกายและอายุ สำหรับรายละเอียดเนื้อหาที่จะกล่าวถึงในรายวิชานี้จะบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมา และความสำคัญของการออกแบบเพื่อทุกคน หลักของการออกแบบ เกณฑ์การออกแบบ การนำหลักการ UD ไปประยุกต์ใช้กับสถาปัตย์ การออกแบบ UD นี้ไม่ใช่เพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุ เท่านั้น การออกแบบดังกล่าวยังเหมาะสมกับคนท้อง เด็ก คนป่วย ฯลฯ อีกด้วย

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

ผศ. ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อ. ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล และ อ. ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

วิชากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ จะมีเนื้อหาทั้งหมด 10 บท จะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐทราบและเข้าใจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทักษะที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาเมื่อเรียนวิชานี้ คือ ผู้เรียนในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะตระหนักรู้ มีความรู้และความเข้าใจและสามารถดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ภาษารัสเซียเบื้องต้น รุ่นที่ 2 (จุฬาฯ)

อ. ดร.รมย์ ภิรมนตรี

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

รายวิชา ภาษารัสเซียเบื้องต้น จะมีเนื้อหาให้ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ระบบการออกเสียง ไวยากรณ์รัสเซียขั้นพื้นฐาน การฝึกทักษะด้านการฟัง พูดและอ่าน

การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC (จุฬาฯ)

รศ. ภญ. ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง ศ. ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล ผศ. ภญ. ดร.ทักษิณา ชวนอาษา ผศ. ภญ. ดร.วิชชุดา ธนกิจเจริญพัฒน์ และ อ. ภญ.จีรภัทร์ ดวงฉวี

มีสุขภาวะที่ดี

วิชา การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC จะกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร เทคนิคการตรวจอัตลักษณ์ของสมุนไพรในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร หลักการและเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี เทคนิคการแยกสารด้วย TLC ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค TLC/HPTLC การอ่านและแปลผลการทดสอบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประยุกต์ใช้การตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร หลักการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (method validation) สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC การค้นคว้าและการเลือกใช้แหล่งอ้างอิงในการวิเคราะห์สมุนไพร และหลักการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC โดยปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณที่ดีไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งนี้หากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้มีการเลือกนำสมุนไพรมาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการชำระล้างสารพิษออกจากร่างกาย ลดอาการอักเสบของผิวหนังลดรอยเหี่ยวย่น ทำให้ผิวขาวใส ดังนั้นหากมีการเรียนรู้ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้องและเหมาะสมเผยแพร่แก่ประชาชนที่สนใจเพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ